ความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนไทย

Main Article Content

รัชพันธุ์ เชยจิตร

บทคัดย่อ

การศึกษาความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือน ในปี พ.ศ. 2543 และปี พ.ศ. 2554 การศึกษานี้ใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์จินี่ (Gini coefficient) เพื่อแสดงถึงระดับของความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนไทยและใช้การประมาณค่าโดยใช้ Quantile Regression Analysis เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครัวเรือน โดยจำแนกออกเป็นสองแบบจำลอง คือ แบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครัวเรือนใน ปี พ.ศ. 2543 และแบบจำลองใน ปี พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำด้านค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มลดลง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น  พบว่า ปัจจัยด้านเขตที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ประจำเฉลี่ย สาขาการผลิตหรืออาชีพหลักของครัวเรือน จำนวนสมาชิกที่มีรายได้ประจำ และ ภาคที่อยู่อาศัย สามารถอธิบายความผันแปรของ ค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งแบบจำลองในปี พ.ศ. 2543 และ  2554

Article Details

How to Cite
เชยจิตร ร. (2018). ความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มของครัวเรือนไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(2), 102–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/119812
บท
บทความวิจัย
Author Biography

รัชพันธุ์ เชยจิตร

Ph.D. (Demography) Mahidol University (2002), ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

พงษ์ธร วราศัย.(2558). การศึกษาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ : กรณีศึกษา ประเทศไทย. การประชุมวิชาการ “เหลียวหลัง แลหน้า เศรษฐกิจสังคมไทยในวาระ 100 ปี อาจารย์ป๋วย”. ตลาดหลัดทรัพย์แห่งประเทศไทย.(Online) แหล่งที่มา https://www.eco.tu.ac.th/symposium38/present.สืบค้น 4ธันวาคม2559.

พรพิมล พันธ์พิมาย.(2550). การวิเคราะห์รูปแบบค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือนไทย.วิทยานิพนธ์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชนี อินทรลักษณ์.(2555). แนวทางการวิจัยภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของ
ประเทศไทย. (Online) แหล่งที่มา https://www.thaiwest.su.ac.th/Files/patchanee.ppt สืบค้น 9 กันยายน 2559.

นนทกานต์ จันทร์อ่อน.(2557). ความมั่งคงทางอาหารของประเทศไทย. บทความวิชาการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มกราคม 2557 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(Online) แหล่งที่มา https://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.PDF.
สืบค้น 10เมษายน 2557.

นันทศักดิ์ มะลิลา.(2555). การวิเคราะห์รูปแบบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยก่อนและหลังโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาทิตร รักษ์ธรรม.(2548). การวิเคราะห์ภาคตัดขวางของพฤติกรรมและฟังก์ชั่นการบริโภคของครัวเรือนไทย. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อภิชาต พงษ์ศรีหดุลชัย และคณะ.(2554). ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของไทย. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(องค์กรมหาชน).กรุงเทพมหานคร.

อานันท์ชนก สกนธวัฒน์.(2558). ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ. (Online) แหล่งที่มา https://hrechula.files.wordpress.com สืบค้น 11 กันยายน 2559.

สมประวิณ มันประเสริฐ.(2553). การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีต่อแบบแผนการบริโภคของครัวเรือนไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2551).รายงานประเมินความยากจน ปี 2550. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2554).รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2553. กรุงเทพมหานคร.