การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการลดความล่าช้าในการบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ด้วยระบบสารสนเทศจัดการงบลงทุน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการงบลงทุน-ครุภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อลดความล่าช้าในการบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ ในการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้เครื่องมือ ดังนี้ JetBrains PhpStorm, Visual Studio Code, Laravel Framework, Navicat for MySQL, MySQL, Docker และบริหารจัดการโครงการระบบสารสนเทศด้วยไมโครซอฟท์ ทีมส์ และไมโครซอฟท์ พลานเนอร์ ประชากร ได้แก่ บุคลากรทั้งประเภทวิชาการ/ประเภทสนับสนุนที่รับผิดชอบบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ นักวิชาการแผนและสารสนเทศ หัวหน้าสาขาวิชาและผู้บริหาร จำนวน 35 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัยพบว่า ได้ระบบสารสนเทศการจัดการงบลงทุน-ครุภัณฑ์ แบบอัตโนมัติตามแบบฟอร์มบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ ด้วยระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลด้วยการล็อกอินเข้าใช้งาน โดยโปรแกรมสามารถรายงานแบบฟอร์มรายละเอียดงบประมาณครุภัณฑ์และจัดเก็บข้อมูลได้อัตโนมัติ ก่อนนำระบบสารสนเทศไปใช้มีการประเมินระบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 คน เก็บข้อมูลและบันทึกเวลาการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรมโดยการจับเวลา วิเคราะห์ความสูญเปล่าจากการปฏิบัติงานด้วยแผนผังสายธารคุณค่า (VSM) ร่วมกับแผนภูมิกระบวนการไหลของงาน และวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยหลักการ ECRS ในการวิเคราะห์ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน พบว่า ลดขั้นตอนและลดความล่าช้าในการบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์
จาก 7 กิจกรรม เหลือ 3 กิจกรรม และลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานจาก 920 นาที เหลือ 55 นาที คิดเป็นร้อยละ 94
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตยภร คุ่มเคี่ยม และ รัตนา ขาวกริบ. (2565). การพัฒนาระบบจัดสอบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(3), 32-43.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธี. (2563). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564, จาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29
คณะวิทยาศาสตร์. (2565). ยุทธศาสตร์การบริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2566-2569. ขอนแก่น: ผู้แต่ง.
ชนิศา หอมหวล และ ปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2564). การลดต้นทุนกิจกรรมที่สูญเปล่าจากความผิดพลาดและความล่าช้าในกระบวนการติดตามเอกสารทางการเงิน กรณีศึกษาสถานบริหารวิจัยคลินิกในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 78-93.
ญดา ประสมพงค์, ธวัช วราไชย, จุรีพร กาหยี, และ รจนา แก้วพิบูลย์. (2564). พัฒนาระบบการยื่นคำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(1), 59-69.
นพมณี วัฒนสังสุทธิ์ และ วรพจน์ มีถม. (2564). การปรับปรุงกระบวนการปั๊มขึ้นรูปในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 17(3), 79-98.
ไพรัตน์ ปัญญานิรันดร์. (2565). การพัฒนาระบบจองอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(3), 172-181.
รุจโรจน์ แก้วอุไร และ สุพรรษา น้อยนคร. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังก้างปลากับเฟซบุ๊กเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาโครงงานของนิสิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 269-285.
ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล, คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ และ วิริศ ลิ้มลาวัลย์. (2567). การปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกจัดซื้อในบริษัทค้าปลีก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(3), 26-35.
สุทธิดา ไชยกิจ และ ชูศักดิ์ พรสิงห์. (2564). การลดระยะเวลาการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 17(1), 15-30.
สุรชัย ตันศิริ. (2564). การพัฒนาระบบรายงานตัวออนไลน์. วารสารวิชาการ ปขมท., 10(2), 15-24.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Heizer, J., Render, B., & Munson, C. (2017). Principles of Operations Management: Sustainability and Supply Chain Management (10th ed.). New York: Pearson.
Martin, K., & Osterling M. (2014). Value Stream Mapping: How to Visualize Work and Align Leadership for Organization Transformation (1st Edition). New York: McGraw Hill Education.