ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านส่วนตัว และด้านสังคม กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานด้านเศรษฐกิจ ด้านส่วนตัว และด้านสังคม มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่คุณภาพชีวิตการทำงานด้านการทำงานไม่มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อความผูกพันองค์กร ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะในมิติด้านเศรษฐกิจ ส่วนตัว และสังคม จะช่วยส่งเสริมให้บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์กรสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพและความสำเร็จขององค์กร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวิชญ์ สัณฑิติ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน: กรณีศึกษาหน่วยงาน Business Stakeholder Engagement ของบริษัทแห่งหนึ่ง. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย.
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2567). ค้นหาบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567. จาก https://pd.msu.ac.th/pd7/
กัณฐมณี กี่สุ้น. (2566). คุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 4(3), 77-89.
จตุพร ศุภาสร และ ชินวัตร เชื้อสระคู. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาบุคลากรสังกัดเทศบาลในพื้นที่อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 185-207.
จักรกฤษณ์ หาญชัย. (2565). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อการบริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 22(1), 57-72.
จารุณี มุมบ้านเซ่า. (2563). มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในบริบทของเสรีนิยมใหม่. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 12(2), 55-78.
ชาตรี สุขสบาย. (2566). กรอบแนวทางการศึกษาการพัฒนาคนสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(6), 327-341.
ณรงค์ ศรีเกรียงทอง และ ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการสร้างประสิทธิผลในงาน ขายของพนักงานที่ปรึกษางานขาย (PC) และพนักงานที่ปรึกษาความงาม (BA) ของบริษัทโมเดิร์น คาสอินเตอร์เนชั่นเนลคอสเมติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University, 8(2), 1654-1671.
ณัฐธิดา วิทยารัฐ. (2566). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จังหวัดระนอง. วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ, 1(1), 1-11.
เติมศักดิ์ สุวรรณศักดิ์, ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี, โยธิน เปรมปราณีรัชต์, และ เขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2563). การมีส่วนร่วมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน. วารสารการเมือง การบริหารและกฏหมาย, 12(3), 355-368.
ทิพย์วิมล ณุวงษ์ศรี. (2566). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 23(1), 35-42.
ธนภัทร เทพสถิตย์, และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2566). ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 241-256.
นราทิพย์ ผินประดับ. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 171-180.
ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2566). ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(4), 75-84.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.
ปฤษณา ทิพย์สุวรรณ, ทองฟู ศิริวงศ์, และ สมพล ทุ่งหว้า. (2566). สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Journal of Modern Learning Development, 8(12), 382-398.
พนมพร วงษ์เหมือน. (2564). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.
พระมหายุทธพิชาญ โยธสาสโน, พระครูเกษมอาจารสุนทร, พระครูสุธรรมกิจโกศล และ พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยสู่ความสำเร็จและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 10(1), 169-192.
พัทธนันท์ เกียรติ์ภูมิพัฒน์ และ ชวน ภารังกูล. (2566). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารวิชาการสิรินธรปริทรรศน์, 24(1), 331-342.
พิชชาพร สันติตรานนท์, ปราโมช ธรรมกรณ์ และ สักรินทร์ อยู่ผ่อง. (2566). ปัจจัยด้านการจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษา บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบไทย จำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15(1), 128-139.
ภัทริกานต์ บุญฤทธิ์ และ จรัส อติวิทยาภรณ์. (2566). ปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. วารสารทัศนมิติทางการศึกษา, 1(1), 38-52.
มลฤทัย อินทร์ทองสุข และ ณกมล จันทร์สม. (2564). เป้าประสงค์ของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในองค์การ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 235-246.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2566). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565. จาก https://shorturl.asia/Bu6Wg
วรเทพ ตรีวิจิตร และ ฐนันวริน โฆษิตคณิน. (2566). อิทธิพลของคุณภาพสินค้า คุณภาพบริการ และคุณค่าที่ได้รับที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหศาสตร์, 23(1), 114-127.
วรัญญา กันปี และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2566). การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(12), 228-236.
ศุภณัฐ สุขกมล, ภมร ขันธะหัตถ์ และ ธนิศร ยืนยง. (2566). การบริหารแบบมีส่วนร่วมและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 159-174.
อนันต์ เชี่ยวชาญกิจการ. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอุปถัมภ์ของลูกค้าในการใช้บริการร้านอาหารเกาหลีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 18(64), 65-72.
อัจฉรา ถวิลไพร และ ทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2565). แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันในงาน และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรของพนักงานธนาคารออมสิน สังกัดเขตร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 69-80.
Hair, J. F, Black, W. C, Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Sima, V., Gheorghe, I. G., Subić, J., & Nancu, D. (2020). Influences of the industry 4.0 revolution on the human capital development and consumer behavior: A systematic review. Sustainability, 12, DOI: 10.3390/su12104035