ผลกระทบของนวัตกรรมทางการเงินที่มีต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ในประเทศไทย

Main Article Content

ประภัสสร วารีศรี*
คมกริช วงศ์แข

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถาบันการเงินเกี่ยวกับผลกระทบของนวัตกรรมทางการเงินที่มีต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในประเทศไทย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างคือผู้จัดการสาขาของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจำนวน 69 ราย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการเงิน 5 ด้านของผู้บริหารสถาบันการเงินในภาพรวมจัดอยู่ในเกณฑ์มาก โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านสารสนเทศสูงที่สุด  ผลการศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมทางการเงินที่มีต่อผลการดําเนินงานของสถาบันการเงินในประเทศไทยพบว่า มีเพียงปัจจัยนวัตกรรมทางการเงินด้านภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในประเทศไทย  ดังนั้นหากผู้บริหารสถาบันการเงินให้ความสําคัญกับภาวะผู้นํา มีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีการสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงิน สื่อสารวิสัยทัศน์ที่มุ่งนวัตกรรมการเงินไปยังทุกภาคส่วนในองค์กรจะส่งผลต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินในประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2554). ผลกระทบของธุรกิจแห่งนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (รายงานวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

คมปทิต คงศักดิ์ศรีสกุล. (2561). ครบรอบ 10 ปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (ซับไพรม์) โลกควรเรียนรู้อะไร. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://thestandard.co/hamburger-crisis-10-years-on/

จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์. (2561). ระบบนวัตกรรมทางการเงินเพื่อการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุวรรณ พึ่งพุ่ม. (2564). ผลกระทบของนวัตกรรมที่มีต่อผลประกอบการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ) ในจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, บัณฑิตวิทยาลัย.

จิตระวี ทองเถา. (2564). นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 214-224.

ฐิตินันท์ นันทะศรี, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และ พรเทพ เสถียรนพเก้า. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(79), 11-20.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การธนาคารเพื่อความยั่งยืน พลังขับเคลื่อนสู่การพัฒนาในระยะยาว. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-64-5/Executive-s-Talk-64-5.html

บดินทร์ รัศมีเทศ. (2550). การจัดการเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล. (2560). นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย. ใน การประชุมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประจำปี 2560. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์. (2565). การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการเงินและผลกระทบต่อประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, สำนักบริการและพัฒนาวิชาการ.

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (ม.ป.ป.). บทบาทของ Credit Default Swap ในวิกฤติการเงินโลก. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.wealthmagik.com/wp-content/uploads/wmg-content/ArticleFile/CDS_081251.pdf

พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค (FinTech) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0. วารสาร อิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(1), 1-23.

พรระวี อระวีพร. (2561). สภาพการณ์ และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนวัตกรรมทางการเงินของธนาคารในยุคดิจิตอลของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.

พัฒนะ พิมพ์แน่น และ อภิ คําเพราะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์เชิงรุกกับผลการดําเนินงานขององค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 10(1), 38-54.

ภคพร เปลี่ยนไพโรจน์ และ มณฑล สรไกรกิติกูล. (2562). มุมมองและการปรับตัวของพนักงานในยุคบริการทางการเงินดิจิตอล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 62-80.

ภัทรกิตติ์ เนตินิยม. (2554). เอกสารการสอน เรื่อง ภาพรวมนวัตกรรมทางการเงิน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563, จาก http://fin.bus.ku.ac.th/pdf/P/02_P_Fin%20Inno_STOU.pdf

ลุกซ์ ริชาร์ด. (2555). คัมภีร์นักนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท.

วารุณี กุลรัตนาวิจิตรา. (2560). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ). (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม.

สิปปภาส พรสุขสว่าง. (2553). เศรษฐศาสตร์ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาวดี บัวบน. (2565). การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในยุคดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย.

Meifang, Y., He, D., Xianrong, Z., & Xiaobo, X. (2018). Impact of payment technology innovations on the traditional financial industry: A focus on China. Technological Forecasting and Social Change, 135, 199-207.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harperand Row Publication.