ความสัมพันธ์ของปัจจัยความพึงพอใจในภาวะการเงินของตนเอง ต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทย: ช่วงระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

วรชาติ โชครัศมีดาว*
ยศ อมรกิจวิกัย

บทคัดย่อ

       ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูตนเอง หรือเพื่อเลี้ยงดูสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว เนื่องจากรายได้จากการทำงานของผู้สูงอายุจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ โดยพบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุที่ตกงานเพิ่มมากขึ้นในช่วงระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว  การตกงานนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะทางการเงินของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นการทำให้ผู้สูงอายุขาดรายได้จากการทำงาน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางการเงินลดลง การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของปัจจัยความพึงพอใจในภาวะการเงินของตนเอง ต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทย : ช่วงระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความพึงพอใจในภาวะการเงินของตนเอง และปัจจัยด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทย ด้วยแบบจําลองการถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary Logit Model) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 44,179 ตัวอย่าง จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยผู้สูงอายุที่มีความพึงพอใจในภาวะการเงินของตนเองมีความมั่นคงทางการเงินมากกว่าผู้สูงอายุที่  ไม่มีความพึงพอใจในภาวะการเงินของตนเองสูงถึง 2.88 เท่า

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โชครัศมีดาว* ว. ., & อมรกิจวิกัย ย. . (2024). ความสัมพันธ์ของปัจจัยความพึงพอใจในภาวะการเงินของตนเอง ต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้สูงอายุในประเทศไทย: ช่วงระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(1), 59–82. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/272366
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14186&tid=&gid=1-015-005

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. (2563). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/demographic%20thai.pdf

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(4), 690-701.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และ สุภรต์ จรัสสิทธิ์. (2564). สถานการณ์และแนวโน้มสภาพการทำงานของผู้สูงอายุไทย: การวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศ (รายงานวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

ปิยะพร มุ่งวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่วัยสูงอายุ. วารสารวิจัยสังคม, 41(1), 217-234.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

รติพร ถึงฝั่ง และ รัชพันธุ์ เชยจิตร. (2558). ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมกับความสุขของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 17(1), 111-133.

วัลยา ตูพานิช, สุธีกาญจน์ ไชยลาภ และ กิตติ ไชยลาภ. (2562). ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(พิเศษ), 583-592.

สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำงานของผู้สูงอายุ ตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม. สืบค้นเมื่อ13 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550211728-152_0.pdf

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2557). แรงงานผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ13 มิถุนายน 2566, จาก https://tdri.or.th/2014/01/srawooth-labour

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก https://catalogapi.nso.go.th/api/doc/department/D12/D12_P01/D12_P01_43_2.pdf

Ando, H., Pennee Kantavong, Matsukura, R., & Narong Kiettkunwong. (2022). Aging in northeast Thai communities: Who are and will be supporting the aged? Ageing International, 48(2), 708-727.

Anlaya Smuseneeto, & Kusol Soonthorndhada. (2011). Economic security among the Thai elderly in 2002 and 2007: Changes and determinants. Sri Lanka Journal of Population Studies. 12(13). 101-114.

Anlaya Smuseneeto, & Kusol Soonthorndhada. (2011). The impact of health factors on financial security among the Thai elderly: In 2002 and 2007. Journal of Health Research, 25(1), 11-14.

Buraskorn Torut. (2018) Impact of living arrangement on well-being of Thai rural elders. Journal of Education and Social Sciences, 11(1), 28-33.

Jayawardhana, T., Anuththara, S., Nimnadi, T., Karadanaarachchi, R., Jayathilaka, R., & Galappaththi, K. (2023). Asian ageing: The relationship between the elderly population and economic growth in the Asian context. PLoS One, 18(4). Doi: 10.1371/journal.pone.0284895

Katekaew Seangpraw, Nop Thodsama Ratanasiripong, & Paul Ratanasiripong. (2019). Predictors of quality of life of the rural older adults in Northern Thailand. Journal of Health Research, 33(6), 450-459.

Pit, S., Fisk, M., Freihaut, W., Akintunde, F., Aloko, B., Berge, B., . . . Yap, J. C. H. (2021). COVID-19 and the ageing workforce: Global perspectives on needs and solutions across 15 countries. International Journal for Equity in Health, 20, DOI: org/10.1186/s12939-021-01552-w

Piyakorn Whangmahaporn, Phongsak Simmonds, & Benya Whangmahaporn. (2018). Factors affecting quality of life of the elderly in Thailand. Asian Political Science Review, 2(2), 79-87.

Ratana Somrongthong, Sunanta Wongchalee, Chandrika Ramakrishnan, Donnapa Hongthong, Korravarn Yodmai, & Nualnong Wongtongkam. (2017). Influence of socioeconomic factors on daily life activities and quality of life of Thai elderly. Journal of Public Health Research, 6(1), 49-55.

Sarmah, M., & Das, B. (2017). Socio-economic condition and social support among the ageing Tiwas of Assam. In Elderly Care in India (pp. 117-131). Singapore: Springer.

Sirinya Phulkerd, Sasinee Thapsuwan, Rossarin Soottipong Gray, Aphichat Chamratrithirong, Umaporn Pattaravanich, Chantana Ungchusak, & Pairoj Saonuam. (2023). Life satisfaction before and during Covid-19 pandemic in Thailand. International Journal of Public Health, 68, DOI: 10.3389/ijph.2023.1605483.eCollection 2023

Teeranut Harnirattisai, & Sararud Vuthiarpa. (2020). The perception of independent living among Thai older adults. Ageing International, 45(2), 181-190.

The World Bank. (n.d.). Thailand economic monitor-June 2016: Aging society and economy. Retrieved January 6, 2023, from https://www.worldbank.org/en/country/thailand/publication/thailand-economic-monitor-june-2016-aging-society-and-economy

United Nations Department of Economic Social Affairs. (2020). World Population Ageing 2020: Highlights. Retrieved January 6, 2023, from https://www.un.org/development/desa/pd/sites/www.un.org.development.desa.pd/files/files/documents/2020/Sep/un_pop_2020_pf_ageing_10_key_messages.pdf

Worawet Suwanrada. (2008). Poverty and financial security of the elderly in Thailand. Ageing International, 33, 50-61.