การเพิ่มขีดความสามารถทางบัญชีของคนในชุมชนเพื่อยกระดับเป็นผู้ประกอบการชุมชนผ่านกระบวนการส่งเสริมอาชีพ สู่การลดต้นทุนบัญชีในการประกอบอาชีพ

Main Article Content

ลลิตา พิมทา

บทคัดย่อ

     


        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการด้านอาชีพและการจัดทำบัญชี และความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางบัญชีและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน สู่ความเป็นผู้ประกอบการชุมชน งานวิจัยนี้ช่วยให้กลุ่มอาชีพในชุมชนได้เรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจชุมชนและการจัดทำบัญชี ยกระดับเป็นผู้ประกอบการชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม การทดลอง  การถ่ายทอดองค์ความรู้ ใช้ระยะเวลาการทดลอง 6 เดือน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของชุมชนด้านอาชีพคือ อาชีพมีความคล้ายคลึงกัน กลุ่มอาชีพขาดระบบการบริหารจัดการ สมาชิกขาดการมีส่วนร่วม ทักษะและความชำนาญ ด้านการจัดทำบัญชีคือ ขาดองค์ความรู้การจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง โดยชุมชนมีความต้องการให้ส่งเสริมอาชีพต้นแบบคือ การเพาะเห็ดนางฟ้า และส่งเสริมความรู้ในการจัดทำบัญชี ซึ่งชุมชนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า การบริหารจัดการธุรกิจชุมชนและการจัดทำบัญชี และหลังการทดลองฝึกปฏิบัติการในภาพรวมสมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 19.22 สามารถบันทึกบัญชีรายรับ–รายจ่าย แยกประเภทต้นทุน คำนวณผลกำไร-ขาดทุนได้ถูกต้องและสามารถลดต้นทุนการผลิตโดยการผลิตก้อนเห็ดนางฟ้าซึ่งลดต้นทุนได้ 8.25 บาทต่อก้อน สั่งซื้อขี้เลื่อยในปริมาณที่ประหยัดที่สุดคือ 3,000 กิโลกรัม ต่อรอบ  ทำให้ลดต้นทุนการสั่งซื้อได้ 1,500 บาทต่อรอบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2566). พัฒนาภูมิปัญญาทางบัญชีสู่ต้นทุนอาชีพ รูปแบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ การคิดกำไร-ขาดทุน จากการประกอบอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=30024

กัมพล เพ็ชรล้อมทอง, สุรภา เอมสกุล และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). กระบวนการสร้างชุมชนเข็มแข็งอย่างยั่งยืนแบบพึ่งพาตน. วารสารร้อยแก่นสารวิชาการ, 6(12), 354-368.

กิรณา ยี่สุ่นแซม. (2561). การจัดการความรู้ด้านการบัญชีและการเงินโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มจัดการขยะ ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 14-27.

จรรจา ลิมปภากุล. (2565). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

ชมภูนุช หุ่นนาค, ปภาวดี มนตรีวัต และ วิพร เกตุแก้ว. (2563). แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 13(2), 21-53.

ทิวากร เหล่าลือชา. (2563). การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มุกดาหาร: เอกรัตน์การพิมพ์.

นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และ ทำนอง ชิดชอบ. (2565). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน กรณีศึกษา: ธุรกิจชุมชน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 84-92.

นิศรา จันทร์เจริญสุข และ เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์. (2564). แนวทางการจัดการธุรกิจชุมชน บ้านแม่ขี้มูก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 9(2), 17-26.

พรรนิภา รอดวรรณะ. (2560). การบัญชีต้นทุน: หลักและกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563).การตัดสินใจยอมรับระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพกับการยกระดับศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 69-79.

พิมพ์พิศา วรรณจิตร และ ปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. Veridian E – Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1),1926-1942.

พิมลพรรณ บุญยะเสนา และ วรลักษณ์ หิมะกลัส. (2561). กิจกรรมและเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(19), 127-139.

ภานุ พิมพ์บูรณ์ และ สุรพงษ์ แสงเรณู. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐานบ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(1), 163-172.

ลลิตา พิมทา, อินทร์ อินอุ่นโชติ และ ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 17(2), 37-52.

ลลิตา พิมทา. (2563). การพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), 71-83.

ลลิตา พิมทา. (2564). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของกลุ่มอาชีพชุมชนในแอ่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(5), 17-31.

ลลิตา พิมทา. (2565). การบัญชีต้นทุน. ร้อยเอ็ด: คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2561). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 131-144.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2563). คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://web.codi.or.th/printing_media/20200327-12063/

สมคิด บางโม. (2559). การเป็นผู้ประกอบการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เอสเค บุ๊คส์.

สำนักงานเทศบาลตำบลท่าม่วง. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 เทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thamuang101.go.th/menu/2402/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/03/masterplan_updated2023_080363.pdf

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2558). คู่มือการดำเนินงาน ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่ ประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER028/GENERAL/DATA0000/00000049.PDF

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา ถาพยอม. (2565). การบัญชีต้นทุน 1. มหาสารคาม: มีเดีย ปริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.

Denzin, N. K. (1978). The Research Act: A Theoretical to Sociocultural Method. Chicago: Aldine Publishing Co.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.