การพัฒนาการจัดทำบัญชีของกลุ่มธุรกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วม ชุมชนบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

อำภาภัทร์ วสันต์สกุล

บทคัดย่อ

       


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะแนวทางการจัดทำบัญชี ลักษณะการประกอบการ และสภาพปัญหาของกลุ่มธุรกิจชุมชนบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และ 2) เพื่อพัฒนาและเสนอรูปแบบแนวทางการจัดทำบัญชีที่เหมาะสม สำหรับการบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจชุมชนบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็นจากประธานกลุ่ม หรือผู้รับผิดชอบด้านบัญชีและการเงิน รวมทั้งสิ้น 30 คน และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและรายงานผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การจัดทำบัญชีในปัจจุบันของกลุ่มธุรกิจชุมชนบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใช้การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปของสมุดบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพียงอย่างเดียว โดย
ไม่มีการจัดทำรายงานการเงิน และในการดำเนินงานมีเพียงประธานกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบหน้าที่งานต่างๆ แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งยังพบว่า สมาชิกในกลุ่มธุรกิจชุมชนนั้นขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดทำบัญชี จึงทำให้เกิดปัญหา เนื่องจากการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นระบบ 2) การพัฒนาการจัดทำบัญชีของกลุ่มธุรกิจชุมชนบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยใช้รูปแบบการจัดทำบัญชีที่พัฒนาขึ้น ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มธุรกิจชุมชนบ้านท่าดีหมี เป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงอย่างต่อเนื่อง จากรายงานงบต้นทุนผลิต และงบรายได้และค่าใช้จ่าย แสดงให้เห็นต้นทุนและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งนำไปใช้ในการวางแผนการบริหารงาน และความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไปในอนาคต 3) ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดทำบัญชี เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มธุรกิจชุมชนบ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การจัดทำบัญชีของกลุ่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.73, S.D. = 0.512) และมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดทำบัญชีของกลุ่ม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.12, S.D. = 0.251)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

เกศชฎา ธงประชา, พรพิมล อิฐรัตน์ และ กิตติมา ทางนะที. (2557). การพัฒนาระบบบัญชีตามหลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา (รายงานวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ชูศรี เที้ยศิริเพชร, จอมใจ แซมเพชร และ ดุรยา สุขถมยา. (2555). การพัฒนาระบบบัญชีเพื่อพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านไร่ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะบริหารธุรกิจ.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และ พิทยา ว่องกุล. (2554). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพลส โปรดักส์.

ดิลก สาระวดี. (2559). การประเมินชนบทแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal, PRA) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR). ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนาคาร เรืองศิลป์สุวิทย์. (2549). การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

ธวัชชัย เพ็งพินิจ, พรทวี พลเวียงพล, วโรดม แสงแก้ว, พิมพ์ชนก วัดทอง และ แสงอรุณ สุนทรีย์. (2554). ตัวชี้วัดความสำเร็จเกษตรพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน. วารสารวิจัย มสด, 7(2), 91-103.

นภาพร เคลื่อนเพชร. (2557). การพัฒนาระบบบัญชีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

นิรชา จันทร์เรือน, ปิยะพร อุษาธรรม, พัชราภรณ์ เปียงปัน, ณัฐยา สักเส็ด และ ปัญจพร ศรีชนาพันธ์. (2561). ความสามารถในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(1), 81-92.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พุทธมน สุวรรณอาสน์. (2562). การพัฒนาระบบบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 84-96.

มินระดา โคตรศรีวงค์ และ สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 1632-1645.

ไลลา บุญพิศ และ ฮัมเดีย มูดอ. (2556). เส้นทางการพัฒนาธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: วัชรินทร์ พี พี.

วราพร กลิ่นประสาท. (2558). ผลกระทบของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดลำปาง (รายงานวิจัย). ลำปาง: วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

วิไล วีระปรีย, จงจิตต์ หลีกภัย และ ประจิต หาวัตร. (2561). ระบบบัญชี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพาพร ลอยวัฒนกุล, อรวรรณ กมล, พยอม ตอบประโคน และ มานพ ทองไทย. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน. วารสารราชนครินทร์, 13(29), 251-258.

องค์การบริหารส่วนตำบลปากตม. (2565). คู่มือพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. เลย: ผู้แต่ง.

อรทัย ดุษฎีดำเกิง. (2557). การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Bryman, A. (1986). Leadership and Organization. London: Routedge & Kegan Pahl.

Chambers, R., Pacey, A., & Thrupp, L. A. (1989). Farmer First: Farmer Innovation and Agricultural Research. North Yorkshire: Short Run Press.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D, Irwin Inc.

United Nations. (1981). Planned Population Distribution of Development. New York: Author.

Veeken, H. J. M., & Wouthers, M. J. F. (1983). “Using Accounting Information Systems my operations manager in project company,” In What is Team Work: Hecturetics 1-9, Team Development Manual. London: Routledge.

WHO & UNICEF. (1978). Strategies Utilized by School Superintendents in Establishing Participatory Linkages with District Community. New York: The University of Wisconsin.