ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

เมทยา อิ่มเอิบ

บทคัดย่อ

         กระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนมาจากแนวคิดการพัฒนารากฐาน เนื่องจากชุมชนเป็นรากฐานทางสังคมที่สำคัญ ความเข้มแข็งของชุมชนจึงควรได้รับการพัฒนาโดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละตามตัวแปร หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


         ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก จำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ ระดับความคิดเห็นของปัจจัย การจัดการความรู้และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณสำหรับตัวแปรผลกระทบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ส่งผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้ค่า Adj R2 เท่ากับ 0.649 แสดงว่า ตัวแปรอิสระสามารถพยากรณ์ ประสิทธิภาพได้ร้อยละ 64.90 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ในการกำหนดนโยบายด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในด้านการวางแผนการ และมีหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนการนำเทคโนโลยีประเภทต่างๆมาใช้ในการพัฒนาการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อิ่มเอิบ เ. . (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(1), 108–124. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/271850
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จักรธร พลคชา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข็มแข็งของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.

จังหวัดเลย. (2561). ข้อมูลทั่วไปของแต่ละอำเภอ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://ww2.loei.go.th/amphur_content

จินดารัตน์ ทรัพย์เจริญ, ธนพร สุขแก้ว, นริสรา ชะระตะคุ, นารีรัตน์ สบายดี, บัวชมพู เกตชิต, พรทิพย์ วังสันต์, . . . กิตติวินท์ เอี่ยมวิริยะวัฒน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว กรณีศึกษาบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: แซท์โฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.

นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล, สุระวุฒิ ปัดไธสง, อุษณีย์ ธโนศวรรย์, โสมพรรณ ถิ่นว่อง, ศศิธร ศิริประเสริฐกุล, . . . ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พรินติง แมส โปรดักส์ จำกัด.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กเพรส.

ปรีชา วงศ์ทิพย์. (2555). การพัฒนาชุมชนประยุกต์: แนวคิดการบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2549) กระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้ของชุมชน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.

วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม และ อุษณากร ทาวะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 11(1), 39-50.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กเพรส

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานสถิติประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/population.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อนันตพร ภูกิ่งหิน. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

อนุชาติ พวงสาลี และ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2541). ประชาสังคม: คำ ความคิดและความหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

Dalkir, K. (2005). Knowledge Management in Theory and Practice. Montreal: McGill University.

De Long, D. W., & Fahey, L. (2000). Diagnosing cultural barriers to knowledge management. Academy of Management Executive, 14(4), 113-127.

Desouza, K. C., & Awazu, Y. (2006). Knowledge management at SMEs: Five peculiarities. Journal of Knowledge Management, 10(1), 32-43.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall, Upper Saddle River.

Jennex, M. E., & Zynger, S. (2007). Security as a contributor to knowledge management success. Information Systems Frontiers, 9, 493-504.

Koulopoulos, T. M., & Frappaolo, C. (2000). Smart Things to Know about, Knowledge Management. Oxford: Capstone Publishing Limited.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Marquardt, M. J. (1995). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Zack, M. H. (1999). Managing codified knowledge. Sloan Management Review, 40(4), 45-58.