การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฏฐ์พิฌา ราษฎรดีเตชะกุล

บทคัดย่อ

       


         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการศึกษากลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและการทดสอบสมมติฐาน


         ผลการวิจัยพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประกอบอาชีพค้าขาย การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ต่ำกว่า 25,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความแตกต่างในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ในขณะที่ลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านอาชีพมีความแตกต่างในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์  ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมการสื่อสารการตลาดมีความสำคัญในระดับปานกลางต่อการทำให้เกิดการตัดสินใจของร้านค้าออนไลน์  โดยปัจจัยสื่อสารการตลาดด้านโฆษณาออนไลน์ มีความสำคัญในระดับสูงต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์  ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์พบว่าปัจจัยด้านกลุ่มอิทธิพลทางความคิดและการจัดกิจกรรมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ทั้งหมด โดยปัจจัยกลุ่มที่มีอิทธิพลทางความคิดมีความสัมพันธ์มากที่สุด และปัจจัยด้านการจัดกิจกรรมมีความสัมพันธ์น้อยที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กชพรรณ เผือกพิพัฒน์. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดและการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครเวทีของคนในกลุ่ม Gen Y. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คณะนิเทศศาสตร์.

กนกวรรณ กลับวงศ์. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีเครื่องประดับผ่านสื่อออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

กาญจนา ศิริแตง. (2562). คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุผ่านแอพพลิเคชั่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.

กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2561). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

เกษราพร สุอรุณ และ ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์. (2560). อิทธิพลที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการธุรกิจผลิตภัณฑ์ความงามเพื่อการส่งออก. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 7(20), 1-13.

ขจีวรรณ เกตุวิทยา. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อนาฬิกาอัจฉริยะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม.

ชาพิฒมณฑ์ ทับจันทร์ และ นลินี เหมาะประสิทธิ์. (2564). การตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดคราบน้ำ ผ่าน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 (น.148-163). พิษณุโลก:, มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะบริหารธุรกิจและการสื่อสาร.

ธรรมรัตน์ ธารีรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, คณะบริหารธุรกิจ.

นุชนารถ สุปการ. (2561). คุณลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะนิเทศศาสตร์.

ปัญญพัฒน์ เตชะศิริเชษฐ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ตามแนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืนของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยการจัดการ.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (ม.ป.ป.). Communication + Life Style + E-Commerce จับกระแสสื่อสารกับการใช้ชีวิตเพื่อตัดสินใจบริโภคสินค้าออนไลน์. สืบค้นเมื่อ10 มิถุนายน 2566, จาก http://www.prthailand.com/images/articles/expert-commu-lifestyle-ecommerce.pdf

พัทร์ธากานต์ โสภณเชาว์กุล. (2563). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของรถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก สาย 36 กรุงเทพ - สัตหีบ - รังสิต. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, คณะบริหารธุรกิจ.

พิชญาพรรณ วงศ์สุวรรณ์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจบริโภคอาหารเจและมังสวิรัติที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คณะนิเทศศาสตร์.

พิชญาภา มุสิเกตุ และ จิราพร ชมสวน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์สมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), 171-184.

ไพรรัตน์ แก้วดี. (2564). กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ.

ลดาอำไพ กิ้มแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคจากสื่อโฆษณาประเภทวิดีโอผ่านผู้มีอิทธิพลบนสังคมออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และ จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2562). หลักการตลาด. นนทบุรี: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สุธาวัลย์ เวพีวุฒิกร และ ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2564). การสื่อสารการตลาดรูปแบบดิจิทัลของร้านค้าออนไลน์ Shopee ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารปาริชาต, 34(1), 76-88.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รายงานวิจัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อุคอิคดอทอีอี. (2563). ช้อปออนไลน์ 2563 เติบโตบนสถานการณ์ไม่ปกติ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/165701

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing (17th ed.). UK: Pearson Harlow.

We are Social. (2022). Digital 2022: Another year of bumper growth. Retrieved October 18, 2022, from https://wearesocial.com/us/blog/2022/01/digital-2022-another-year-of-bumper-growth-2/