คุณลักษณะของพื้นที่ที่สามที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มาใช้บริการ ร้านกาแฟอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความนิยมและพฤติกรรมในการบริโภคเครื่องดื่มประเภทกาแฟมีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ธุรกิจร้านกาแฟเติบโตอยากรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง ดังนั้น ร้านกาแฟจึงจำเป็นต้องสร้างความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะพื้นที่ที่สามมีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มาใช้บริการร้านกาแฟในอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านกาแฟในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน คือ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะพื้นที่ที่มีบรรยากาศอารมณ์สนุกสนานจัดอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58) คุณลักษณะของพื้นที่ที่มีการเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกจัดอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.48) และคุณลักษณะของพื้นที่ที่เป็นเหมือนบ้านที่อยู่นอกบ้านจัดอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.48) โดยคุณลักษณะที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มาใช้บริการร้านกาแฟในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวน 6 คุณลักษณะ เรียงลำดับตามความสำคัญ คือ คุณลักษณะพื้นที่ที่มีการเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก คุณลักษณะพื้นที่ตรงกลาง คุณลักษณะพื้นที่ที่มีรูปลักษณ์ที่ธรรมดา คุณลักษณะพื้นที่ที่มีบรรยากาศอารมณ์สนุกสนาน คุณลักษณะพื้นที่ที่เป็นเหมือนบ้านที่อยู่นอกบ้าน และคุณลักษณะพื้นที่ที่มีกิจกรรมหลักเพื่อการสนทนา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกร มุสิผล. (2564). Third Place Around You: พาไปดูพื้นที่อิสระที่ดีต่อใจต่างมุมโลก. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565, จาก https://adaymagazine.com/place-28/
กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2564). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2524). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
จิตตินันท์ เตชะคุปต์. (2543). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัญญา เตชมหามงคล. (2558). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการร้านกาแฟขนาดเล็ก ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว.
ดนัย เทียนพุฒ. (2543). นวัตกรรมการบริการลูกค้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอ เอ็น จี.
ธนกร แก้วมณี. (2564). พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา: กาแฟสด ยี่ห้ออเมซอน. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7(1), 260-270.
บริษัท ดับเบิ้ล บี มีเดีย จำกัด. (2563). ส่องอนาคต “กาแฟไทย” ยังโตได้อีกไกล ไตรมาสแรกยอดขาย-ส่งออกพุ่งไม่สน โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2020/09/exim-exac-analyze-thai-coffee-still-grow-in-the-future/
บริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด. (2561). WHIZDOM101 กับแนวคิด Third Place พื้นที่ที่เติมเต็มความสุขและตอบโจทย์การใช้ชีวิตในทุกๆวัน. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 จาก https://www.terrabkk.com/articles/192880/whizdom101-กับแนวคิด-third-place-พื้นที่ที่เติมเต็มความสุข-และตอบโจทย์การใช้ชีวิตในทุกๆวัน
ปพนธ์ มังคละธนะกุล. (2559). Starbucks: จาก The Third Place สุ่ The Second Wallet. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2565, จาก https://thaipublica.org/2016/10/yangsamkum4/
ภรัณย์พงษ์ เอกบุศย์. (2553). คุณลักษณะพื้นที่ที่สามของชุมชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง.
ภาริญช์ โอภาสเสรีผดุง. (2564). Central Perks–เรียนรู้ Third Place ผ่านมุมมองซีรีส์ดังตลอดกาลอย่าง F.R.I.E.N.D.S. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://citycracker.co/intangible-city/central-perks-friends/
วันวิสาข์ เพชรบุรี และ สิริภัทร์ โชติช่วง. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลต่อความเป็นพื้นที่ที่สามของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสวิตัลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 13(2), 255-269.
ศุภชัย ชัยจันทร์ และ ณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์. (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(2), 71-83.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก https://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/JUN2019Thailand_Coffee.pdf
อภิชญา โออินทร์. (2561). สุมหัวกันในที่ที่สาม: กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในเมืองตรัง. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563, จาก: https://medium.com/intermingle-in-trang/โครงการวิจัย-สุมหัวกันในที่ที่สาม-กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในเมืองตรัง-b437cbc3b8e6
อรนิสา บุญเนื่อง. (2562). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านคาเฟ่ อเมซอน ในจังหวัดตรัง. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-5-11_1599048293.pdf
อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education (3rd ed.). New York: McGraw–Hill Book Inc.
Hejri, H. M., & Modiri, A. (2019). Evaluation of third place functions of cafes for the youth in Enghelab and Valiasr street. The Journal of Architecture and Urban Planning. 11(22), 37-52.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994) The assessment of reliability. Psychometric Theory, 3, 248-292.
Oldenburg, R. (1989). The Great Good Place. New York: Paragon House: Da Capo Press.
Oldenburg, R., & Brissett, D. (1982). The third place. Qualitative Sociology, 5, 265-284.
Putnam, R. D. (2000). Bowling Alone: The Collapse and Revival of American Community. New York: Simon and Schuster.
Sugiyama, D., Shirahada, K., & Kosaka, M. (2015). Elements to organize the third place that promotes sustainable relationships in service businesses. Technology in Society, 43(2015), 115-121.
Widyaningsihl, A., Kusumawardhani, P., & Zerlinal, D. (2020). Coffee culture and urban settings: Locating third place in the digital era. The case of about life coffee brewers in Tokyo and Kopi Tuku in Jakarta. Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 602, 119-130.
Wolman, B. B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. London: Litton Educational.