การถอดบทเรียนจากการพัฒนาวารสารวิชาการให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการทำงานวารสารวิชาการ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการทำงานวารสารวิชาการในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งหนึ่ง ให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจาก ผลการประเมินคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ และกำหนดเป็นคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนัดหมายเก็บข้อมูลจากบรรณาธิการวารสาร และคณะผู้จัดทำวารสารในอดีตและปัจจุบัน จำนวน 8 คน ตามประเด็นการสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เขียนสรุป ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ในแต่ละประเด็นตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาในการทำงานวารสารวิชาการ และปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการทำงานวารสารวิชาการ ให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านนโยบายผู้บริหาร พบปัญหาใน 2 ประเด็น คือ การให้ความสำคัญกับงานวารสารในระดับนโยบาย และด้านการจัดสรรงบประมาณ 2. ด้านบุคลากร พบปัญหาใน 2 ประเด็น คือ ปัญหาจากตัวบรรณาธิการ และปัญหาจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 3. ด้านเครือข่าย วารสารควรสร้างเครือข่ายด้านวิชาการจากงานวิชาการ งานเสวนา เพื่อทำให้เกิดประเด็นใหม่ๆ ในการทำวารสาร 4. ด้านบริหารงานของวารสาร พบปัญหาใน 4 ประเด็น คือ ปัญหาด้านคุณสมบัติวารสารและธีมวารสาร ปัญหาด้านกระบวนการทำงาน ปัญหาด้านข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ และปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ 5. ด้านการใช้ระบบการจัดการงานวารสารของ Thai Journals Online (ThaiJO) บรรณาธิการและคณะทำงานวารสาร จะต้องศึกษาเกณฑ์การประเมิน และดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์หลักและเกณฑ์รองของ TCI ในแต่ละข้อ รวมทั้งการศึกษาการใช้ระบบ ThaiJo ด้วย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญาภัค สระแก้ว, นวลพรรณ ชํานิ และ อนันตญา ขจัดโรคา. (2562). การพัฒนาคุณภาพวารสารรามาธิบดีเวชสาร: จากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(1). สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566, จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/242075/164641
ดนัย เทียนพุฒ. (2534). การบริหารแบบระบบ QCC กลุ่มควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บทที่ 3 วารสาร. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563, จาก http://human.dusit.ac.th/e_port/bunpod_pij/pdf/text/journal/05-chapter3.pdf
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการคุณภาพ: จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ (พิมพ์คร้ังที่ 5). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ. เนชั่นบุ๊คส์
วิภาดา ทองเกลี้ยง (2555). การจัดการคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/450095
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย. (2562 ก). เกณฑ์เชิงปริมาณในการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล
TCI รอบที่ 4 (2563-2567). สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563, จาก https://tci-thailand.org/download/เกณฑ์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเกณฑ์เชิงปริมาณ.pdf
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย. (2562 ข). ประกาศผลการประเมินการปรับกลุ่มคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI
รอบที่ 4 ครั้งที่ 3 (2565-2567). สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563, จาก https://tci-thailand.org/?p=8139
สุขุม มั่นคง. (2554). วงจรควบคุมคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จาก http://qualitycontrolcircles.blogspot.com/2011/03/qcc.html
สุมาลี นาคถนอมทรัพย์, วัลยา พุ่มต้นวงค์ และ พัดชา สนองค์. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดทำวารสารแพทย์เขต 4-5 สู่การเป็นวารสารระดับชาติ. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566, จาก http://202.28.95.4/library/main/abs/b14270377.pdf
สุรศักดิ์ นานานุกูล. (2534). คู่มือ QC หลักการพื้นฐานของกล่มสร้างคุณภาพงานในญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิต.
คริส พีรอส. (2562). QCC คืออะไร? หลัก Quality Control Circle ทำอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2566, จาก https://greedisgoods.com/qcc-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad-quality-control-circle/
Ramasamy, S. (2009). Total Quality Management. India: Tata McGraw-Hill.