ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวและการลงทุนทางธุรกิจอย่างมาก ธุรกิจโรงแรมเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ความเข้าใจการตัดสินใจใช้บริการของนักท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาบริการของธุรกิจโรงแรมได้อย่างมาก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยว ในเขตจังหวัดระยอง โดยสมมติฐานของการศึกษานี้ ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีผลทำให้การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวไทยในเขตจังหวัดระยองแตกต่างกัน และ 2) ปัจจัยด้านคุณภาพในการให้บริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวไทยในเขตจังหวัดระยอง โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่น จำนวน 400 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรศาสตร์โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วยค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิจัยระหว่างตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ เพื่อหาอิทธิพลของตัวแปรโดยวิธี Stepwise Method
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวในเขตจังหวัดระยองแตกต่างกัน และปัจจัยด้านคุณภาพในการให้บริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยว ในเขตจังหวัดระยอง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จากhttps://www.mots.go.th/news/category/531
กัมปนาท ผุดผ่อง. (2549). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมในเกาะสมุย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, บัณฑิตวิทยาลัย.
ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2561). การพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, คณะบริหารธุรกิจ.
เตือนใจ ศรีชะฎา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นที่เมืองพัทยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(1), 247-259.
นาตยา เจริญผล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวเอเชีย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.
นิตยา พร้าวราม. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน : กรณีศึกษา โรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วราภรณ์ ไทยดำรงเดช. (2552). พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ในการสำรองที่พักของนักท่องเที่ยวไทย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). การบริหารการตลาด กลยุทธ์และยุทธวิธี (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Lind, D. A., Marchal, W. G., & Wathen, S. A. (2013). Basic Statistics for Business and Economics (8th ed.). New York: McGraw-Hill Irwin.
Morrison, B. J., Gold, M. A., & Lantagne, D. O., (1996). Incorporating indigenous knowledge of fodder trees into small-scale silvopastoral systems in Jamaica. Agroforestry Systems, 34, 101-117.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.