คุณภาพการบริการและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้เข้าใช้บริการสถานบริการฟิตเนสในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ชัยวัฒน์ กลมปล้อง*
วุฒิชาติ สุนทรสมัย

บทคัดย่อ

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความภักดีของผู้เข้าใช้บริการสถานบริการฟิตเนส ประกอบด้วย ระดับคุณภาพการบริการ และส่วนประสมทางการตลาดบริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เข้าใช้บริการและเป็นสมาชิกของสถานบริการฟิตเนสในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


                   ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเรื่องคุณภาพบริการ ในด้านความเชื่อถือ การตอบสนองและความสะดวกทางกายภาพ อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก ด้านความเอาใจใส่อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง และด้านความเชื่อมั่นอยู่ในระดับเห็นด้วยน้อย เรื่องส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และความภักดี ในด้านพฤติกรรมการซื้อซ้ำ พฤติกรรมการบอกต่อ ความตั้งใจซื้อ ความอ่อนไหวต่อราคา และพฤติกรรมการร้องเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณภาพการบริการในด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนอง ด้านความเอาใจใส่ และด้านความสะดวกทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้เข้าใช้บริการสถานบริการฟิตเนส และส่วนประสมทางการตลาดบริการในด้านการบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่ในการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคคลและพนักงาน มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้เข้าใช้บริการสถานบริการฟิตเนส และคุณภาพการบริการมีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้เข้าใช้บริการสถานบริการฟิตเนส โดยมีส่วนประสมทางการตลาดบริการเป็นตัวแปรส่งผ่าน 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กลมปล้อง* ช., & สุนทรสมัย ว. . (2021). คุณภาพการบริการและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้เข้าใช้บริการสถานบริการฟิตเนสในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 57–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/246834
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมธุรกิจการค้า. (2563) แหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคลและประเภทธุรกิจในประเทศไทย. สืบค้นจาก

https://datawarehouse.dbd.go.th/index

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิตฟิตเนส บทวิเคราะห์ธุรกิจประจำเดือน พฤษภาคม 2562. สืบค้นจาก

https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201905.pdf

กีรติ บันดาลสิน. (2558). การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีในการใช้บริการของลูกค้าธนาคารออมสิน

สาขาสำนักราชดำเนิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.

จิรศักดิ์ ชาพรมมา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ของ

ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

ไชยพศ รื่นมล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจคาร์แคร์ ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาการประกอบการ.

ณักษ์ กุลิสร์, ภัทราพร จิตสร้างบุญ และศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2557). คุณภาพการให้บริการ และความคุ้มค่าที่มี

อิทธิพลต่อความภักดีของนิสิตปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17(มกราคม-ธันวาคม), 83-93.

ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสตาร์เวลล์ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาประกอบการ.

ณัฐพร ดิสนีเวทย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดี ของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้าร้านคาเฟ่ขนมหวานในห้างสรรพสินค้า. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว.

เดอะสแตนดาร์ดทีม (2561). ผลสำรวจชี้ คนไทยมีแนวโน้มใส่ใจสุขภาพมากขึ้น. สืบค้นจาก

https://thestandard.co/aia-sharing-a-life-charity/

ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2558). อัตรการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนไทย. สืบค้นจาก

http://peunemoloyment.blogspot.com

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2555). การวิจัยการตลาดและระบบสารสนเทศทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคม

ส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภค. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมบัติ ธำรงสินถาวร. (2561). การตลาดเชิงสัมพันธ์ : แนวคิดพื้นฐานสำหรับการทำวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ทันใจ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). การเจ็บป่วยและการตาย. สืบค้นจาก

https://www.thaihealth.or.th/Content/20342-การเจ็บป่วยและการตาย.html

สิทธา พงษ์พิบูลย์ และ ฉัตรชัย มะสุนสืบ. (2555). การบาดเจ็บอันเกิดจากการใช้บริการสถานประกอบกิจการด้าน

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 13(1), 104–118.

หัทญา คงปรีพันธุ์. (2557). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าเปรียบเทียบระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการจัดการทั่วไป.

อติชาต มีเจริญ. (2561). การรับรู้ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานฟิตเนสใน

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Baron, R. M., & Kenny, D. A. (1986). The moderator-mediator variable distinction in social psychological

research: Conceptual, strategic and statistical considerations. Journal of Personality and Social

Psychology, 51(6), 1173-1182.

Bloemer, J., Ruyter, K. D., & Wetzels, M. (1999). Linking perceived service quality and service loyalty: A multi- dimensional perspective. European Journal of Marketing, 33(11/12), 1082-1106.

Booms, B., & Bitner, M. J. (1981). Marketing strategies and organizational structures for service firms.

In J., H. Donnelly & W. R. George, (Eds.). Marketing of Services (pp, 47-51). Chicago: American

Marketing Association.

Caruana, A. (2002). Service loyalty : The effects of service quality and the mediating role of customer satisfaction. European Journal of Marketing, 36(7/8), 811-828.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Dick, A. S., & Basu, K. (1994). Customer loyalty: Toward an integrated conceptual framework. Journal of the

Academy of Marketing Science, 22(2), 99-113.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper

Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.

Jacoby, J., & Kyner, D. B. (1973). Brand loyalty vs. repeat purchasing behavior. Journal of Marketing

Research, 10(1), 1-9.

Lewis, R. C., & Booms, B. H. (1983). The marketing aspects of service quality. In L. Berry, G. Shostack & G. Upah (Eds). Emerging Perspectives on Services Marketing. American Marketing Association.

Chicago, IL.

McCarthy, E. J. (1960). Basic Marketing: A Managerial Approach. Homewood, IL: Richard D. Irwin, Inc. Muala, A. A., & Qurneh, M. A. (2012). Assessing the relationship between marketing mix & loyalty through tourist satisfaction in Jordan curative tourism. American Academic & Scholarly Research

Journal, 4(2), 7-23.

Othman, B., Harun, A., Rashid, W., & Ali, R. (2019). The impact of Umrah service quality on customer

satisfaction towards Umrah travel agents in Malaysia. Management Science Letters, 9(11),

-1772.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988) SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring

consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Prentice-Hall, Englewood Cliffs.

Srinita, S. (2018). The effect of service quality and marketing mix strategy towards local sustainable

economic growth. European Research Studies Journal. 21(1), 272-284.

Themba, O. S., Razak, N., & Sjahruddin, H. (2019). Increasing customers' loyalty. The contribution of marketing strategy, service quality and customer satisfaction. Archives of Business Research. 7(2), 1-15.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31–46