ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของพนักงานเทศบาลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Main Article Content

สมคิด ยาเคน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล และเพื่อทราบถึงการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา โดยรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด และใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทน ปัจจัยด้านทัศนคติในการวางแผนทางการเงิน และปัจจัยด้านการยอมรับความเสี่ยงมีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณระดับมาก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านความรู้เรื่องเครื่องมือทางการเงินมีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลระดับปานกลาง และผลการทดสอบสมมติฐานนั้นพบว่า ปัจจัยด้านความรู้เรื่องเครื่องมือทางการเงินไม่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณที่ระดับนัยสำคัญ 0.5 โดยพนักงานส่วนใหญ่เข้าใจว่าการวางแผนทางการเงินส่วนบุคลเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีบางคนไม่มีการออมเงินและการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ และไม่มีความรู้ในการใช้เครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยในการวางแผนทางการเงิน แต่ทุกคนเห็นถึงความสำคัญการวางแผนทางการเงินนั้นจะช่วยให้มีเงินสำรองใช้จ่ายยามฉุกเฉิน และทำให้มั่นใจว่าชีวิตหลังเกษียณจะมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่าย ดังนั้นเทศบาลควรจัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินให้พนักงาน และประชาชนทั่วไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ยาเคน ส. . (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของพนักงานเทศบาลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 25–40. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/243832
บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

สมคิด ยาเคน, คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Money and Banking Deparment 

Faculty of Business Administration

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอำยุประเทศไทย ปี2559. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561. จาก

http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20170707092742_1.pdf

กองทุนการออมแห่งชาติ. (2561). รายงานสมาชิกกองทุน. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2561. จาก

http://www.nsf.or.th/index.php

ขนิษฐา ตันสถาวีรัฐ และธฤตพน อู่สวัสดิ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของพนักงานเครือบริษัทหนํ่าเซียน ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561.

จาก http://www.utccmbaonline.com/ijbr/doc/Id638-20-04-2017_07:13:04.pdf

ญาดา วัลยานนท์ และศนินันท์ สุวรรณหงษ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุของข้าราชการและลูกจ้าง สำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ.

เทศบาลตำบลแม่กา. (2561). รายงานอัตรากำลัง. สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2561. จาก

http://www.maekalocal.com/index.php#

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). บัญชีเงินฝาก. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. จาก

https://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/savings/Pages/savingsbook.aspx

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). อัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562. จาก

https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx

ธีรพัฒน์ มีอําพล. (2557). ความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมการออมที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุกรณีศึกษากลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

พรรณภา วิไลศรีอัมพร. (2552). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สังกัดศูนย์บริการลูกค้า. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิทยาการจัดการ.

พัฒนี ทองพึ่ง. (2556). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุ : กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2561. จาก

http://libdoc.dpu.ac.th/research/149795.pdf

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2555). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย.

รัฐชัย ศีลาเจริญ, พรอนงค์ บุษราตระกูล, อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย, รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น, ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ, และสุนทรี เหล่าพัดจัน. (2559). ประสิทธิผลของการให้ความรู้ต่อการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณอายุ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 38(150), 149-190.

ระบบสถิติทางทะเบียน. (2561). จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561. จาก

https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php

ศรุติ กิตติมหาชัย (2560). การศึกษาการวางแผนการใช้ชีวิต การวางแผนเรื่องการเงิน และการพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชนในเขต กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

ศีจุฑา ปอน้อย. (2555). ความรู้และทัศนคติต่อการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.

สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน. (2553). การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ. กรุงเทพมหานคร : ตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (ค่ายา ค่ารักษา) ต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั้งหมด (GDP) ปี พ.ศ. 2536 – 2561. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562. จาก

http://social.nesdc.go.th/SocialStat/StatBarChart_Final.aspx?reportid=1260&template=1R1C

&yeartype=M&subcatid=18

Lee, D., Arumugam, D., & Arfin, N. B. (2019). A study of factors influencing personal financial planning among young working adults in Kuala Lumpur, Malaysia. International Journal of Recent Technology and Engineering (IJRTE), 7(5S), 114-119.

Masran, M. A., & Hassan, H. H. (2017). Factors affecting retirement planning of Gen-Y workers in Klang Valley private sectors, Malaysia. International Journal of Advanced Research and Publications (IJARP), 1(4), 246-260.

Todd, J. S., & Schuyler, M. R. (2017). Retirement planning: Important factors influencing a service member's decision to prepare for retirement. (Master’s thesis of Business Administration), Naval Postgraduate School.