การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง : บทบาทของตัวแปรการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

Main Article Content

น้ำผึ้ง ไชยทัศ*
สมบัติ ธำรงสินถาวร
อารีรัตน์ ลีฬหะพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อมขององค์กร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาระดับของภาพลักษณ์ขององค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของบรรทัดฐานทางสังคมเชิงสัมพันธ์ด้านความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Solidarity Norm) ในฐานะตัวแปรกำกับที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรและภาพลักษณ์ขององค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ผลการวิจัย หลังจากการวิเคราะห์น้ำหนักขององค์ประกอบ การดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรแล้ว ทำให้ได้กลุ่มตัวแปรต้นด้านการรับรู้เกิดขึ้นใหม่ 3 กลุ่มตัวแปร ได้แก่ (1) การรับรู้การดำเนินกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านผู้บริโภค (2) การรับรู้การดำเนินกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านการพัฒนาชุมชน และ (3) การรับรู้การดำเนินกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลทำให้กรอบแนวความคิดเริ่มต้นในการวิจัยและสมมติฐานเริ่มต้นถูกปรับเปลี่ยนไป ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการรับรู้การดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ด้านข้างต้น มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับภาพลักษณ์ขององค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง สอดคล้องตามสมมติฐานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลของการวิจัย ยังพบอีกว่า เมื่อองค์กรมีระดับของบรรทัดทางทางสังคมเชิงสัมพันธ์ด้านความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่เข็มแข็งขึ้น จะส่งผลให้การรับรู้การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบด้านผู้บริโภคและการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นไปในทิศทางบวกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  แต่ในทางตรงกันข้าม ระดับของบรรทัดทางทางสังคมเชิงสัมพันธ์ด้านความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่เข้มแข็งขึ้นขององค์กร ไม่สามารถส่งผลให้การรับรู้การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบด้านการพัฒนาชุมชนให้เพิ่มขึ้นได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ไชยทัศ* น., ธำรงสินถาวร ส. ., & ลีฬหะพันธุ์ อ. . (2021). การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง : บทบาทของตัวแปรการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 51–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/240569
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรุณา แดงสุวรรณ. (2553). คณะพยาบาลศาสตร์ : การปรับตัวต่อสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และการหลอมรวมเป็นมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(1), 11-26.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2554). การจัดการสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://www.ieat.go.th/eia/index.php/2013-10-27-11-09-54

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยด้านบริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ.กรุงเทพฯ: บริษัท เมจิกเพรส จำกัด

จรัสพงศ์ คลังกรณ์. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนในเขตพี้นที่นิคมอุตสาหกรรม กรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 245-257

โชติรัตน์ ศรีสุข. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารและการรับรู้รูปแบบโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาการประกอบการ.

ดลชัย บุณยะรัตเวช. (2559). แบรนด์ที่ใช่ ขายอะไรก็มีคนซื้อ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

ดวงพร ธัญญากุลวงศ์. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สาขาวิชาการจัดการบริการสังคม.

ปรีดา เจษฎาวรางกุล. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคูคต อําเภอลําลูกกาจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น.

ปวีณา สินขาว. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.

พักตร์ศุภางค์ ศรีสวัสดิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กับภาพลักษณ์ขององค์กรเครือ

ซิเมนต์ไทย (SCG) ในมุมมองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โพธิ์วัฒน์ เผ่าพงศ์ช่วง, ธีรวุฒิ บุญยโสภณ และวิเชียร เกตุสิงห์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของเขตอุสาหกรรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 24(3), 644-656.

ภูติณัฐ สุภาพร. (2558). การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อบริษัท แสงโสม จำกัด ของผู้ที่พักอาศัยในบริเวณตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรทัย ราวินิจ. (2549). ประสิทธิผลของการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมในการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์.

วรรณชา กาญจนมุสิก. (2554). การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

วันทยา เฉลิมพลวรรณคดี. (2562). ปัจจัยด้านการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจระดับบุคคลและปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, สาขาวิชาการตลาด.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2548). พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: งานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

วิภาดา วีระสัมฤทธิ์. (2553). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภค. ชลบุรี: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริชัย สาครรัตนกุล. (2553). กูรู CSR ผู้นำกระแสในยุคเริ่มต้น. Make Money, 12(135), 53-55

ศุกลิน วนาเกษมสันต์. (2552). การสร้างแบบสอบถามวัดภาพลักษณ์องค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมบัติ ธำรงสินถาวร. (2560). ตัวแบบความรับผิดชอบต่อสังคมของบริโภค: ผลการปฏิสัมพันธ์ของความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริโภคกับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการตลาดระยะยาว. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 12(1), 1-22.

สานิตย์ หนูนิล, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และจันทนา แสนสุข. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ : ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(2), 304-321.

สำนักงานทะเบียนเทศบาลเมืองมาบตาพุด. (2557). ข้อมูลทางสถิติสำนักงานทะเบียนราษฎร. สืบค้นจาก http://mtp.go.th/public/texteditor/data/index/menu/495.

สิโรรส รุ่งดอนทราย (2552). การรับรู้รูปแบบและผลกระทบของโครงการ CSR ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร: กรณีศึกษาโครงการไทยเบฟร่วมใจต้านภัยหนาว บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จากัด (มหาชน). (การวิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป.

อภิชาติ สุขแสง. (2555). ขั้นตอนการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกัน : กรณีศึกษา ชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม.

Davis, J. A. (1971). Elementary Survey Analysis. New Jersey: Inc. Englewood Cliffs,

Gregory, J. R., & Wiechmann, J. G. (1991). Marketing Corporate Image: The Company As Your Number One Product. Lincoinwood: NTC Business Books.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.

Heide, J. B., & John, G. (1992). Do norms matter in marketing relationships?. The Journal of Marketing, 56(2), 32-44.

Hulin, C., Netemeyer, R. G., & Cudeck, R. (2001). Can a Reliability Coefficient Be Too High? Journal of Consumer Psychology, 10(1), 55-58.

Kotler, P. (2000). Marketing Management (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.