การรับรู้ความง่าย การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติและการยอมรับในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งใน เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

รัชนี ชอบศิลป์*
จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความง่ายในการใช้งานหุ่นยนต์ การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานหุ่นยนต์ ทัศนคติในการใช้งานหุ่นยนต์ และการยอมรับในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ของพนักงาน ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับในการทำงานร่วมกับกับหุ่นยนต์ของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ดังกล่าวจำนวน 242 คน ด้วยการเก็บตัวอย่างตามความสะดวก สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)


                   ผลการวิจัยพบว่าระดับการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานหุ่นยนต์และทัศนคติในการใช้งานหุ่นยนต์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และ 3.54 ตามลำดับ ระดับการยอมรับในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานหุ่นยนต์ของพนักงานอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 และ 3.19 ตามลำดับ ในส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโมเดลเส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ของพนักงานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติที่ได้ คือ CMIN=3.27, CMIN/DF=3.27, GFI=.99, AGFI=.93, CFI=.99, RMSEA=.09

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น .

กรรณิการ์ คงทอง. (2561). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

กัลยาณี สุขวาณิชย์ศิลป์. (2553). ทัศนคติต่อการยอมรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ FMS (Franchise Management System) บริษัทซีพี ออล จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจเทคโนโลยี.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ธนวรรณ สำนวนกลาง. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางการเงินรูปแบบ M-Banking. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจเทคโนโลยี.

ธัญทิพย์ คล่องตา. (2557). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของครูโรงเรียนมัธยม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา.

นพเดช อยู่พร้อม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบ eDLTV ของบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี. (2562). สืบค้นเมื่อมกราคม 2562.

พงษ์นภา กิจโมกข์. (2561). หุ่นยนต์ทดแทนแรงงานไทยอย่างไร. วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 60(3), 24-25.

รุ่งทิวา เงินปัน. (2560). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการให้บริการประชาชน:กรณีศึกษาระบบสารสนเทศที่ดินของกรมที่ดิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์.

วนิดา ตะนุรักษ์, นรพล จินันท์เดช, และประยงค์ มีใจซื่อ. (2560). อิทธิพลของทัศนคติต่อการใช้งานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของพนักงานอุตสาหกรรมการค้าส่งและค้าปลีกไทย.Journal of the Association of Researchers, 22(1), 41-53.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Englewood- Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th Ed.) NewDelhi: Prentice Hall.

Biman, D. (2001). Physics: An Introduction. (Other edition). New York: Addison Wesley.

Browne, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessing model fit. In: K. Bollen, J. Long, (Eds.), Testing Structural Equation Models. Sage: Newbury Park,CA.

Chin, J., & Lin, S. C. (2016). A behavioral model of managerial perspectives regarding technology acceptance in building energy. Sustainability, 8(641), 1-13.

Chiou, Y. F. (2011). Perceived usefulness, perceive ease of use, computer attitude, and using experience of web 2.0 applications as predictors of intent to use web 2.0 by pre-service teachers for teaching, (Unpublished doctoral dissertation). Ohio University. Patton College of Education and Human Services.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Davis, F. D., Bagozzi., R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982-1003.

Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Reading MA: Addison-Wesley.

Graetz, G. & Michaels G. (2015). Robots at Work. CEP Discussion Paper No 1335. London: Centre for Economic Performance.

International Federation of Robotics. (2018). Executive Summary World Robotics 2018 Industrial Robots. Retrieved August, 2019, from https://ifr.org/.

Kernaghan, K. (2014). The Responsible Public Servant (2nd ed.). Canada: Institute of Public Administration of Canada.

Kline, R. B. (2005). Methodology in the Social Sciences. Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press.

Mwiya, B., Chikumbi, F., Shikaputo, C., Kabala, E., Kaulung'ombe, B., & Siachinji, B. (2017). Examining factors influencing E-banking adoption: Evidence from bank customers in Zambia. American Journal of Industrial and Business Management, 7, 741-759.

Rosly, R. M., & Khalid, F. (2018). Evaluation of the “e-Daftar” system using the technology acceptance model (TAM). Creative Education, 9, 675-686.