อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานระดับปฏิบัติการในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานผลิตอาหาร ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี 2. วิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ 3. วิเคราะห์อิทธิพลของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีต่อวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานผลิตอาหาร ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 281 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก ส่วนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านความมั่นคงในการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ด้านข้อมูลข่าวสาร ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานระดับปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการสำนึกในหน้าที่ ด้านการมีความอดทนอดกลั้น และด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานระดับปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Downloads
Article Details
References
กันธิชา ทองพูล, เขมมารี รักษ์ชูชีพ และกล้าหาญ ณ น่าน. (2559). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณลักษณะงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 131-145.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
กัลยาณี เสนาสุ. (2560). การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2560). Thailand’s Eastern Economic Corridor. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.ieat.go.th/assets/uploads/attachment/file
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด.
สถาบันอาหาร. (2560). แนวโน้มการจ้างงานในอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://fic.nfi.or.th/hot_issue_detail.php?smid=1605
สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (20 มกราคม 2563). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2562 และแนวโน้ม ปี 2563. RYT9. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/oie/3086947
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง จำกัด.
Ali, N. (2016). Effect of organizational justice on organizational citizenship behavior: A study of health sector of Pakistan. Review of Public Administration and Management, 4(3), 1-9
Chang, C. C., Tsai, M. C., & Tsai, M. S. (2011). Influences of the organizational citizenship behaviors and organizational commitments on the effects of organizational learning in Taiwan. 2010 International Conference on E-business, Management and Economics IPEDR. 3, 37-41.
Chen, Z. X., Aryee, S., & Lee, C. (2005). Test of a mediated model of perceived organizational support. Journal of Vocational Behavior, 66(3), 457-470.
Colquit, J. A., Lepine, J. A., & Wesson, M. J. (2013). Organizational Behavior: Improving Performance and Commitment in the Workplace. New York: McGraw-Hill Education.
Eder, P., & Eisenberger, R. (2008). Perceived organizational support: Reducing the negative influence of coworker withdrawal behavior. Journal of Management, 34(1), 55-68.
Farh, J. L., Podsakoff, P. M., & Organ, D. W. (1990). Accounting for organizational citizenship behavior: Leader fairness and task scope versus satisfaction. Journal of Management, 16(4), 705-721.
Field, A. (2009). Discovering Statistics Using SPSS. London: Sage Publications Ltd.
Garvin, D. A. (2012). Building a Learning Organization. Harvard Business Review, 71, 778-779.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. Pearson upper saddle river: Pearson education.
Ismail, H. (2014). Organizational justice and citizenship behavior the mediating role of trust. International Journal of Human Resource Studies, 5(1), 86-96.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Moorman, R. H. (1991). Relationship between organizational justice and organizational citizenship behaviors: Do fairness perceptions influence employee citizenship?. Journal of Applied Psychology, 76(6), 845-855.
Newstrom, J. W. (2006). Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill Education.
Nikhil, S., & Arthi, J. (2019). Impact of perceived organizational support on citizenship behavior of ITES employees. Asian Journal of Managerial Science, 8(2), 119-124.
Obiora, J. N., & Okpu, T. (2014). Organizational citizenship behavior and learning organization in the hospitality industry: A lesson for Nigeria's sustainable development. International Journal of Advanced Research in Statistics Management and Finance, 2(1), 90-101.
Organ, D. (1997). Organization citizenship behavior: It’s construct clean-up time. Human Performance, 10(2), 85-97.
Organ, D.W. & Bateman, T. S. (1991). Organizational Behavior. Homewood: Irwin.
Randall, M. L., Cropanzano, R., Bormann, C. A., & Birjurin, A. (1999). Organizational politics and organizational support as predictors of work attitudes, job performance and organizational citizenship behavior. Journal of Organizational Behavior, 20(2), 159-174.
Rhodes, L., & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support: A review of the literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698-714.
Robert, E., Robin, H., Steven, H., & Debora, S. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline. New York: Doubleday Business.
Silval, H.M., & Madhumali, K. P. (2014). Organizational Justice and Organizational Citizenship Behavior: A Study of Public Sector Organizations in Western Province Sri Lanka. Kelaniya Journal of Human Resource Management , 9(1 & 2), 1-14.
Yahaya, A., Boon, Y., Ramli, J., Baharudin, N. A., Yahaya, N., Ismail, J., & Shariff, Z. (2011). The implications of organizational citizenship behavior (OCB) towards the dimensions of learning organization (LO) in organizations in southern Malaysia. African Journal of Business Management, 5(14), 5724-5737.