การทำนายความตั้งใจซื้อผักอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

Main Article Content

ภาณุมาศ แสนหล้า
วุฒิชาติ สุนทรสมัย

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติต่อการซื้อผักอินทรีย์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจซื้อผักอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อผักอินทรีย์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผักอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ไม่เคยซื้อผักอินทรีย์ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน  โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีเพิ่มตัวแปรแบบขั้นตอน (Stepwise)


                ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่ไม่เคยซื้อผักอินทรีย์ มีทัศนคติ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจซื้อที่ดีต่อผักอินทรีย์ ส่วนด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการซื้อผักอินทรีย์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อผักอินทรีย์ และสามารถใช้ในการพยากรณ์หรือทำนายความตั้งใจซื้อผักอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรีได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการค้าภายใน. (2561). ระบบฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์. สืบค้นจาก http://organic.dit.go.th/News.aspx?id=136

กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. (2539). คู่มือการปลูกผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ

กรีนเนท. (ม.ป.ป.). เกษตรอินทรีย์คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.greennet.or.th/principle-oa/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชญ์ธนัน พรมมา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

ณัฐวุฒิ เลิศวัฒนเกษม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

ธิติพันธ์ ศรีภมร, สุนทรี ศักดิ์ประชาวุฒิ, พรพรรณ ปะทาเส, เกยูร เม่าทอง และสุดา มาลากุล ณ อยุธยา. (2558). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการการตลาดผักอินทรีย์ กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานวิจัย). สืบค้นจาก

https://www.alro.go.th/research_plan/download/article/article_20190731141312.pdf

นิโลบล ตรีเสน่ห์จิต. (2553). แรงจูงใจ และทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อถุงผ้าในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาการตลาด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พิชามญช์ อดุลวิทย์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแบ่งปันความรู้ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารนักบริหาร, 31(1), 256-260.

มูลนิธินวชีวัน. (2557). การแบ่งระดับความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร. สืบค้นจาก

http://www.nawachione.org/articles/การแบ่งระดับความปลอดภั/

ยุ่น หนาน ซุน. (2559). การรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผักและผลไม้ออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

ศศิวิมล บุญสุภา. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง พร้อมรับประทานของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามกรอบแนวคิดทฤษฏีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB). (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดออร์แกนิค ธุรกิจสร้างเงิน SME ไทย. สืบค้นจาก

https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-SME_Organic-Product.pdf

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี. (2560). แผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดชลบุรี (พ.ศ. 2561-2564). สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER19/DRAWER062/GENERAL/DATA0000/00000391.PDF

อรพิน ถิระวัฒน์, ประพนธ์ ไทยวานิช และชาติ นรังสิทธิ์. (2535). “ผักปลอดสารพิษ”. กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อุกฤษฏ์ เอื้อวัฒนสกุล. (2558). ทัศนคติและความเชื่อของครอบครัว ความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และอัตลักษณ์ส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารคลีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

Ajzen, I. (1985). From intentions to action: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckman (Eds.), Action-Control: From Cognition to Behavior (pp. 11-39). Heidelberg: Springer.

Ajzen, I. (1988). Attitudes, Personality, and Behavior. Chicago, IL: Dorsey Press.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Ajzen, I. (2002). Constructing a TPB questionnaire: Conceptual and methodological considerations. Psychology, Business, Retrieved from

https://pdfs.semanticscholar.org/0574/b20bd58130dd5a961f1a2db10fd1fcbae95d.pdf

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Clemes, M. D., Gan, C., & Ren, M. (2011). Synthesizing the effects of service quality, value, and customer satisfaction on behavioral intentions in the motel industry: An empirical analysis. Journal of Hospitality & Tourism Research, 35(4), 530-568.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407-414.

Donahue, M. E. (2017). Theory of planned behavior analysis and organic food consumption of American consumers. (Doctoral dissertation). Walden University, Psychology.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Howard, J. A. (1994). Buyer Behavior in Marketing Strategy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Parichard Sangkumchaliang, & Huang, W. C. (2012). Consumers perceptions and attitudes of organic food products in Northern Thailand. International Food and Agribusiness Management Review, 15(1), 87-102.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The Free.