องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
ดรุณี ปัญจรัตนากร

บทคัดย่อ

                        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 111 สถาบัน ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 97 คน ครูและเจ้าหน้าที่ จำนวน 567 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 664 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 15 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บุคลิกภาพและทักษะแบบผู้นำ 2) การเป็นผู้นำทีม  3) การเป็นแบบอย่างที่ดี 4) การเป็นผู้นำทางความคิด 5) การส่งเสริมการพัฒนา 6) การสื่อสารแบบผู้นำ 7) การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 8) การบริหารการเปลี่ยนแปลง 9) การสนับสนุนและพัฒนาสมรรถนะ 10) การบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 11) การเป็นผู้นำทางวิชาชีพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วรพงศ์พัชร์ ณ. . ., ผกามาศ พ. ., & ปัญจรัตนากร ด. . (2020). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 128–143. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/219390
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และปรางทิพย์ เสยกระโทก. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่สำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยทรัพยากรมนุษย์, 6(2): 62-70.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง และอุษา งามมีศรี. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูผู้สอนยุคเศรษฐกิจดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านมนุษย์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต.

พิทักษ์ ทิพย์วารี, วสันต์ อติศัพท์, ชิดชนก เชิงเชาว์ และสันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการพลศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 57-70.

สุภาวดี เจริญเศรษฐมห. (2551). แนวทางการสร้างนวัตกรรมในองค์กร. วารสารรามคำแหง, 25(4), 130 -140.

Dominique, R. P. (2011). Leadership in Higher Education: The Interrelationships, influence and relevance of emotional intelligence. (Doctoral thesis). University of Wollongong, Faculty of Education

Gibson, J. L., Donnelly, J. H., Konopaske, R., Ivancevich, J. M., & Gibson, J. H. (2002). Organizations: Behavior Structure Processes. 11th ed. Singapore: McGraw-Hill.

Hall, M. R., Culver, S. M., & Burge, P. L. (2012). Faculty teaching practices as predictors of student satisfaction with a general education curriculum. The Journal of General Education. 61(4), 352-368.

Drucker, P. F. (1995). Management: Tasks, Responsibilities, Practices. London: Butterworth Heinemann Ltd.

Thomson Reuters. (2014). Educational management administration & leadership. Journal Citation Reports. Web of Science (Social Sciences ed.).

Utley, M. S. (2007). Portraits of six successful principals : Context and components of effective leadership. Dissertation Abstracts International-A. 67(09).