การลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาว ความไว้วางใจ และบรรทัดฐานด้านความยืดหยุ่นที่ส่งผลต่อความผูกพันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต่อร้านค้าส่งระดับ 2 ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุภัทรชา เผยอำนาจ
สมบัติ ธำรงสินถาวร
เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์
จารุพร ตั้งพัฒนกิจ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของร้านค้าปลีกที่มีต่อร้านค้าส่ง เพื่อศึกษาระดับทฤษฎีการลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาว ความไว้วางใจ บรรทัดฐานความยืดหยุ่น เพื่อศึกษาระดับของความผูกพันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต่อร้านค้าส่งระดับ 2 และ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาว ความไว้วางใจ และบรรทัดฐานด้านความยืดหยุ่นที่ส่งผลต่อความผูกพันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต่อร้านค้าส่งระดับ 2  โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดชลบุรี  โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า แบ่งสัดส่วนประชากรตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี


                   ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า มี 2 ปัจจัยที่ส่งผลไปยังความผูกพันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าส่งระดับ 2 คือความยืดหยุ่นด้านการให้เครดิตและราคา และความยืดหยุ่นด้านการจัดส่ง


                   ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีความคิดเห็นในด้านการลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาวอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก ด้านความไว้วางใจอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก และด้านบรรทัดฐานความยืดหยุ่น อยู่ในระดับที่เห็นด้วยปานกลาง และด้านความผูกพันอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก  ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า ตัวแปรการลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาว ด้านความพึงพอใจและด้านการลงทุนของผู้ซื้อ  ตัวแปรความไว้วางใจ และตัวแปรบรรทัดฐานความยืดหยุ่นในด้านเครดิตและราคาและด้านการจัดส่งมีอิทธิพลทางบวกต่อความผูกพันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต่อร้านค้าส่งระดับ 2 ในขณะที่ตัวแปรการลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาว ด้านการลงทุนของผู้ขาย และด้านคุณภาพทางเลือกอื่นไม่ได้มีอิทธิพลต่อความผูกพันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต่อร้านค้าส่งระดับ 2 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า

อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.

ณัฐิณี แซ่โง้ว. (2553). ผลของการลงทุนของร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมในชุมชนต่อความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

ระหว่างผู้บริโภคและร้านค้าปลีกในเขตจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

เด่นเดือน นิคมบริรักษ์, กีรติพงศ์ แนวมาลี, นิภา ศรีอนันต์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ, ศศิพงศ์ สุมา และศิราภรณ์ ธูปเทียน (2560). โครงการศึกษาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเพื่อเตรียมความพร้อม ในการยกร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่เหมาะสมกับประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย.

ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัด

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ. (2560). เอกสารคำสอนการวิเคราะห์การถดถอย. ชลบุรี: ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล, ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว และโชติรส กมลสวัสดิ์. (2553). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ตารางสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด

(2547-2560) Table of Gross Regional and Provincial Product (2004-2017) (Excel). สืบค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 2562. จาก http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=gross_regional 2561.

สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2560). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี 2560. สืบค้นจาก http://chonburi.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=268%3A21-12-60&catid=102&Itemid=507

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Dhabe, P. S., Patwardhan, M. S., Deshpande, A. A., Dhore, M. L., Barbadekar, B. V., & Abhyankar, H. K.

(2010). Articulated entity relationship (AER) diagram for complete automation of relational database

normalization. International Journal of Database Management Systems, 2(2), 84-100.

Gundlach, G. T., Achrol, R. S., & Mentzer, J. T. (1995). The structure of commitment in exchange. Journal

of Marketing, 59(1), 78-92.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper

Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.

Ivens, B. S., & Blois, K. J. (2004). Relational exchange norms in marketing: A critical review of Macneil’s

contribution. Marketing Theory, 4(3), 239-263.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and

Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of

Marketing, 58(3), 20-38.

Rusbult, C. E. (1983). A longitudinal test of the investment model: The development (and deterioration) of

satisfaction and commitment in heterosexual involvements. Journal of Personality and Social

Psychology, 45(1), 101-117.

Thamrongsinthaworn, S. (2012). The effects of community responsibility on the long-term performance in small grocery store industry. In 2012 ISBM International Symposium on Business and Management (pp. 385-403). Hongkong: Knowledge Association of Taiwan and International Business Academics Consortium.

Udorn, P. (1999). Consumer commitment in services: A structural model and empirical finding (With Paul N.

Bloom and Valarie A. Zeithaml). In AMA Frontiers in Service Conference, (pp. 294-309), Tennessee:

Vanderbilt University.