ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

นิภา ชุณหภิญโญกุล
จิดาภา ก้อนทอง
ดรุณี โกศล
นิสาชล วรรณทวี

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  (OTOP) ระดับ 5 ดาว ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี  ด้วยปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม อาชีพ  รายได้เฉลี่ยต่อเดือน  ระดับการศึกษา และสถานภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ภายในสามเดือน ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 385 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า F และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


                   ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ และด้านบุคคล  มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ในระดับมาก ส่วนลักษณะทางกายภาพไม่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาว  2) จากการเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้วยปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าผู้บริโภคที่มีอาชีพ รายได้ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในด้านราคาแตกต่างกัน ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในด้านกระบวนการแตกต่างกัน และผู้บริโภคที่มีสถานภาพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในด้านราคา และด้านบุคคลแตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชุณหภิญโญกุล น. ., ก้อนทอง จ. . ., โกศล ด. . ., & วรรณทวี น. . . (2020). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 18–37. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/207402
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษฏิ์ ชนะชัย. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสารสกัดใบบัวบกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาวิชาการจัดการสาระและการสร้างคุณค่า.

ณฐมน ทรัพย์บุญโต, รสริน สุภารัตน์, ชนนพร ยะใจมั่น, ชาดาพร ปงอ้อคำ, ปภาวรินทร์ ศรัทธาบุญ และจารุวรรณ ผุดผ่อง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา OTOP ประเภทอาหาร จังหวัดพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(ฉบับพิเศษ ประชุมวิชาการ), 230-237.

นิตยา โงกสูงเนิน, วรวิช โกวิทยากร และรัชดา ภักดียิ่ง. (2560). กลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ด้วยการตลาด ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(2), 57-69.

นิธิดา พระยาลอ และลำปาง แม่นมาตย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร ในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 38-51.

แบรนด์ บุฟเฟต์. (2561). พาณิชย์’ ผลักดัน OTOP Select สู่การพัฒนารูปแบบ และโอกาสการตลาดรูปแบบใหม่ ตอบสนองพฤติกรรมวิถีชีวิตยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.brandbuffet. in.th/2018/09/dbd-otop-select

ภาคภูมิ ภัควิภาส และรัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2559). กระบวนการตัดสินใจซื้อและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เชิงหัตถกรรมประเภทไม้แกะสลัก กรณีศึกษา บ้านถวาย ตาบลขุนคง อาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ใน โครงการการประชุมวิชาการทางบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น.36-47). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ยุพดี ทองโคตร, ดวงมณี วงศ์สายตา และอาภร สุนทรชัย. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเกลือสปากุญณภัทร ของผู้บริโภคในอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ (น.492-503). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2560). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่: นัยยะเพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 26-37.

ศศิธร พรมมาลา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในอา เภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, สาขาการวิชาบริหารธุรกิจ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). OTOP (One Tambon One Product). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก

http://osthailand.nic.go.th

สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์ และภูษณิศา เตชเถกิง. (2559). กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมยกดอก OTOP 5 ดาวของผู้ประกอบการในจังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(3), 41-54.

สวนีย์ จินดาวงศ์. (2558). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว.

สุภัทรา ปานสุวรรณจิตร์, รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, ธีราวิชย์ ทองนิล และกฤติยา วงศ์เทววิมาน. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ เพื่อพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก

http://www.rdi.rmutsb.ac.th/2011/digipro/crci2016/or/4.pdf

อรนงค์ บุญวัน. (2554). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนราธิวาส. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

อาภร สุนทรชัย, มนันญา ทองบ่อ และยุพดี ทองโคตร. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าปลาร้าบองท่าตูม (OTOP) ของผู้บริโภคในอาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (น.417-424). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2017). Marketing an Introduction. (13th ed.). USA: Pearson Education.

Chainirun, P. (2012). Socail Media Marketing Strategy. Samut Prakan : WPS (Thailand) Co., Ltd.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Foxall, G. R., & Yani-de-Soriano, M. M. (2005). Situational influences on consumers’ attitudes and behavior. Journal of Business Research, 58(4), 518-525.

Greene, J.C. (1922). A study of principals’ perception of their involvement In decision-making processes : Its effect on their job performance. Dissertation Abstracts International, 53(4), 32-45.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). New York: Prentice-Hall.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Reading in Fishbeic,

M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (p. 90-95). New York: Wiley & Son.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill Book Company.

Scammon, D. L., & Mayer, R. N. (1995). Agency review of environmental marketing claim: Case by case decomposition of the issue. Journal of Advertising, 24(2), 33-43