การลดความสูญเปล่าด้วยการประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิต ยางแผ่นรมควัน กรณีศึกษา สถาบันเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้

Main Article Content

เกรียงไกร วงษ์คำอุด
ปณัทพร เรืองเชิงชุม

บทคัดย่อ

การลดความสูญเปล่าด้วยการประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมทำให้ทราบถึงกิจกรรมใดที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าโดยไม่จำเป็น ซึ่งมีผลต่อการช่วยลดต้นทุนได้ชัดเจนขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวผลักดันต้นทุนและเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่า รวมถึงเพื่อลดความสูญเปล่าด้วยการประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน โดยเก็บและรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 สถาบันเกษตร ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามแบบปลายเปิดและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวผลักดันต้นทุน รวมถึง SIPOC ร่วมกับกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่า ตลอดจนต้นทุนฐานกิจกรรม ผลจากการศึกษาตัวผลักดันต้นทุนพบว่ากระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 7 กิจกรรม 37 กิจกรรมย่อย ใช้เวลาทั้งหมด 10,362.5 นาที ต้นทุนด้านทรัพยากรที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ค่าแรงงาน ค่าสารเคมี ค่าไม้ฟืน และ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์    มีค่าเท่ากับ 2.14  , 0.75 และ 0.26 กิจกรรมไม่เพิ่มคุณค่าในกระบวนการผลิตได้แก่ กิจกรรมรมควันยาง หลังการปรับปรุงต้นทุนรวมด้านทรัพยากรลดลงจากก่อนปรับปรุง 4.53 หลังปรับปรุง 3.89 บาทต่อกิโลกรัมคิดเป็นร้อยละ 14.1หลังปรับปรุงกิจกรรมไม่เพิ่มคุณค่าในกระบวนการผลิตจากกิจกรรมรมควันยางที่มีกิจกรรมย่อย 8 กิจกรรมลดลงเหลือ 4 กิจกรรม จากเวลา 10,220 นาที ปรับปรุงเหลือ 9,323 นาที คิดเป็นร้อยละ 8.7 ผู้บริหารสามารถนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการลดความสูญเปล่าหรือกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกวรรณ กิ่งผดุง และ สุจินต์ วุฒิชัยวัฒน์. (2560). การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมใช้กับกระบวนการผลิต นมพาสเจอร์ไรซ์ กรณีศึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมนมขนาดเล็ก. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(1).

จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์. (2561). การนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมการบริการ. จันทรเกษมสาร, 24(46), 80-93.

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล และคณะ. (2556). หลักปฎิบัติในสวนยางมาตรฐาน GAP สู่การผลิตยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมี่ยมมาตรฐาน GMP. ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย.

พรพิพัฒน์ แก้วกล้า. (2557). บทบาทของการเทียบเคียงสมรรถนะในการบัญชีบริหาร. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University, 3(6), 54-67.

ภานุวัฒน์ ธนสานสกุลวงศ์ และ อุษณีษ์ ปุรินทราภิบาล. (2562). การประยุกต์ใช้ลีน ซิกซ์ซิกม่า ในอุตสาหกรรมการ

ผลิต แก้ว ไวน์. TNI Journal of Engineering and Technology, 7(1), 22-31.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา รายปี 2561. 1-4.

สธนกฤต เพชรชนะ. (2560). แนวทางการลดต้นทุนและการเพิ่มผลกำไรของเกษตรกร ผู้ผลิตยางพาราแผ่นดิบในอำเภอละหานทรายจังหวัดบุรีรัมย์. (Doctoral dissertation). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Adler, R. W. (2018). Strategic performance management: Accounting for organizational control. Routledge.

Al-Aomar, R., & Hussain, M. (2017). An assessment of green practices in a hotel supply chain: a study of UAE hotels. Journal of Hospitality and Tourism Management, 32, 71-81.

Mahal, I., & Hossain, M. A. (2015). “Activity-Based Costing (ABC) – An Effective Tool for Better Management.” Research Journal of Finance and Accounting. 6(4): 66-74.

Narumon Preuksa, Buncha Somboonsuke, Jitti Mongkolnchaiarunya, & Sayan Sdoodee. (2013). The Roles of Capital in the management of Rubber Smallholders’ Cooperatives: Experiences from Southern Thailand. International Journal of Agricultural Technology, 9(5), 1055-1068.

Sabet, E., Adams, E., & Yazdani, B. (2016). Quality management in heavy duty manufacturing industry:

TQM vs. Six Sigma. Total Quality Management & Business Excellence, 27(1-2), 215-225.