ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มี ส่วนได้เสียสาธารณะของนักบัญชี

Main Article Content

รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์
ปวีณา คำพุกกะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความคิดเห็นและความเข้าใจของนักบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ 2) ศึกษาความคิดเห็นและความเข้าใจของนักบัญชีที่มี ต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  ประชากร คือ นักบัญชีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกลุ่ม 2 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% ได้จำนวน 388 คนและใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งตามพื้นที่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของข้อมูลเท่ากับ 0.889 และ แบบสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่านักบัญชีมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีในระดับมาก โดยเห็นด้วยว่ามาตรฐานการบัญชีต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ แต่ช่วยลดความซ้ำซ้อนยุ่งยากในบางเรื่อง ทำให้นำเสนอข้อมูลทางการเงินได้รวดเร็วทันต่อการตัดสินใจ ผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจง่ายขึ้น นักบัญชีมีความเข้าใจมาตรฐานการบัญชีในระดับปานกลาง ลักษณะส่วนบุคคล อายุทำให้มีความเข้าใจมาตรฐานการบัญชีแตกต่างกัน ส่วนเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในงานบัญชี การเข้าอบรมความรู้ทางบัญชี การมีใบประกอบวิชาชีพบัญชีทำให้มีความเข้าใจไม่แตกต่างกัน สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อมาตรฐานการบัญชี การเข้าอบรมความรู้ทางบัญชีทำให้มีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีแตกต่างกัน ส่วนลักษณะบุคคลอื่นไม่แตกต่างกัน นักบัญชีควรมีการพัฒนาความรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการบัญชีอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะนำไปใช้ในการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่มีคุณภาพให้กับผู้บริหาร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ณัฐธิดา ลัคนลาวัณย์ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555). ความเห็นของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะต่อการปฏิบัติงานสอบบัญชีและคุณภาพของรายงานทางการเงิน. วารสารวิจัยการจัดการ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 1(2), 51-59.

นิธิดา สกุลจิตจินดา และ เสาวนีย์ สิชฌวัฒน์. (2552). การศึกษาทัศนคติของนักบัญชีต่อการมีมาตรฐานการบัญชี สำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาชีพบัญชี. 4(11), 45-55.

ประภัสสร กิตติมโนรม. ( 2558). ปัญหาการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 1(4), 46- 53.

มัทนชัย สุทธิพันธุ์ และคณะ. (2557). ความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2(31), 65-85.

ศุภวัตร สมนึกเจริญสุข. (2555). ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีและนักบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2560. รายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2560, สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/th/images/data/SR/download/2017/report_year/

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2554). ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 20/2554 เรื่องมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ.

สุภาพร กุศลสัตย์ และ เสาวนีย์ สิชฌวัฒน์. (2552). การนำมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมมาใช้ในประเทศไทยในมุมมองของผู้สอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี. 4(11), 32-44.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). ไทยแลนด์ 4.0. บทความ. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2560, สืบค้นจาก

http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223

สุวรรณี รุ่งจตุรงค์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อาภาศรี ตระกูลจั่นนาค. (2551). ความรู้ความเข้าใจของผู้ทำบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ในจังหวัดปทุมธานี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Kishali, Y., Sharma, H., & Mitchem, C. (2015). An Analysis of IFRS for SMEs from the Accountants' Perspectives: Evidence from Turkey. Journal of International Business & Economics. 15(1), 17-29.

Samujh, H. & Devi, S. (2015). Implementing IFRS for SMEs: Challenging for Developing Economies.

International Journal of Management & Sustainability. 4(3), 39–59.