การใช้มาตรประมาณค่า ในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว

Main Article Content

ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
ดร.กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยวนั้นในแบบสอบถามมักจะนิยมใช้มาตรประมาณค่า (Rating Scale) กันเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรประมาณค่า 1-5 ของลิกเคิร์ต (1-5 Likert Scale) และใช้ในลักษณะที่เป็นมาตรประเภทอันดับที่ (Ordinal Scale) หรือบางกรณีก็ใช้ในลักษณะที่เป็นมาตรอันตรภาค (Interval Scale)  แต่ในกรณีที่ใช้เป็นมาตรประมาณค่าประเภทอันดับที่นั้น ตัวเลขแสดงลำดับที่จะมีระยะห่างที่เท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ (หมายถึงลำดับที่ 1 ห่างจากลำดับที่ 2 ไม่เท่ากับลำดับที่ 2 ห่างจากลำดับที่ 3 ก็ได้ ฯลฯ ) การวิเคราะห์จะใช้สถิติประเภทหนึ่ง ที่แตกต่างออกไปจากการถือว่าเป็นมาตรประมาณค่าประเภทอันตรภาคซึ่งระบุว่าตัวเลขแต่ละตัวมีช่วงห่างเท่า ๆ กัน (เช่น 2 คะแนน มีค่ามากกว่า 1 คะแนนอยู่ 1 และ 3 คะแนนมีค่ามากกว่า 2 คะแนนอยู่ 1 อย่างเท่าเทียมกัน ฯลฯ)  เรนสิส ลิกเคิร์ต (Rensis Likert) ผู้พัฒนามาตรประมาณค่า 5 ลำดับ ระบุว่ามาตรประมาณค่าเป็นมาตรประเภทอันตรภาค  แต่ทว่าในทางปฏิบัติจะพบว่ามีการใช้เป็นมาตรประมาณค่าประเภทอันดับที่อยู่บ้างเพื่อแสดงถึงลำดับที่ แต่แล้วเมื่อจะดำเนินการทางสถิติก็กลับดำเนินการคำนวณตัวเลขเหล่านั้นเสมือนหนึ่งเป็นตัวเลขในมาตรประเภทอันตรภาค จึงเท่ากับสรุปได้ว่ามีการใช้งานในลักษณะที่เป็นมาตรประมาณค่าประเภทอันตรภาคนั่นเอง  


                  นอกจากนี้ในการแปลผลค่าคะแนนก็พบว่ามีทั้งการแบ่งช่วงคะแนนในแต่ละอันตรภาคชั้นให้เท่ากันและไม่เท่ากัน ซึ่งก็สามารถกระทำได้ 2 กรณี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการศึกษาวิจัย รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนั้นเป็นสำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Review Article)

References

ธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัย. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชา มธ. 151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย (ภาคเรียนที่ 1/2557). ปทุมธานี : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี : โรงพิมพ์พีเอส. พริ้นท์.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2551). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมดิคัล มีเดีย.
Khazanie, R. (1996). Statistics in a world of Applications (4th Ed.). New York : HarperCollins College Publishers.
Pan, L., Zhang, M., Gursoy, D., & Lu, L. (2017). Development and validation of a destination personality scale for mainland Chinese travelers. Tourism Management, 59, 338-348.
Rodriguez-Algeciras, A. & Talon-Ballestero., P. (2017). An empirical analysis of the effectiveness of hotel Revenue Management in five-star hotels in Barcelona, Spain. Journal of Hospitality and tourism Management, 32(2017), 24-34.