การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วน ของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมอากาศยานในประเทศไทย ด้วยวิธีการทางสถิติ

Main Article Content

เนาวรัตน์ คำสอน
พงศ์ภัค บานชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วน ของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเทศไทย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างในการคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วนของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อการประกอบอากาศยานและผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน ในประเทศไทยและ 3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วนของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและประสิทธิภาพโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอากาศยานในประเทศไทย การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีรูปแบบการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเทศไทยทั้งหมดจำนวน 24 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า    t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วนของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเทศไทย 3 อันดับแรกคือ ปัจจัยด้านคุณภาพ (Quality) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.792 (S.D. = 0.310) ปัจจัยด้านบริการ (Service) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.646 (S.D. = 0.390) ตามมาด้วยปัจจัยด้านการจัดส่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.625 (S.D. = 0.286) 2) ลักษณะของอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมในการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อการประกอบอากาศยาน และผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อบริการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อเกณฑ์การคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วน 3) ประสิทธิภาพโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอากาศยานในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งมีผลมาจากการคัดเลือก      ผู้ส่งมอบที่เข้มงวดโดยใช้ปัจจัยด้านคุณภาพ ด้านบริการ และด้านการจัดส่งเป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกผู้ส่งมอบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คำสอน เ., & บานชื่น พ. (2019). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคัดเลือกผู้ส่งมอบชิ้นส่วน ของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมอากาศยานในประเทศไทย ด้วยวิธีการทางสถิติ. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 100–111. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/196850
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2559. การเติบโตของธุรกิจการบินในไทย โอกาสบนความท้าทายในการเป็นศูนย์กลางทางการบินครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน. กระแสทรรศน์, (online). https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/35734.aspx, 9 มีนาคม 2560.
Arpan K.K. and Ashis K.P. 2014. Exploring the Importance of Different Supplier Selection Criteria. Management Research Review, 37 (1): 89-105.
Bales R.R., R.S. Maull, and Z. Radnor. 2004. The Development of Supply Chain Management within The Aerospace Manufacturing Sector. Supply Chain Management, International Journal, 9 (3):
250-255.
Jin S. and V.B. Gargeya. 2016. Supplier Selection in Small and Medium Sized Firms: The Case of the US Textile and Apparel Industry. American Journal of Business, 31 (4): 166-186.
Jeong Soo, P. and D. S. Chang. 2010. A Study on the Difference of Supply Chain Performance from the Fitness between Competitive Priorities and Supplier Selection Criteria. Asian Journal on Quality, 11 (2) 183-189.
John N.P. and L.M. Ellram. 1995. Supplier Selection and Evaluation in Small Versus Large Electronics Firms. Journal of Small Business Management Milwaukee, 33 (4): 53-65.
John W.C., V.L. Plano Clark, M.L. Gutmann, and W.E. Hanson. 2008. The Mixed Methods Reader.
California, Sage Publications, Inc. 179-180.
Major M.H. and H. Peck. 2003. Improving the Management of Supply Chain Vulnerability in UK Aerospace Manufacturing. Journal of Logistics and Supply Chain Management, 11 (8): 1-10.
Manish K.S. and Deepali S. 2012. “Supplier Selection Criteria: Study of Automobile Sector In India”, International Journal of Engineering Research and Development. 4 (4): 34-39
Nurdiyana N.Z., A.Rahim, S.F. Hassam, and Z.A.M. Ripin. 2016. Supplier Selection Criterion in Automotive Infotainment Industry: EFA Model. Journal of Education and Social Sciences 3: 118-122.
Pankaj R., E.L. Whitman, and D. Malzahn 2004. “Methodology to Mitigate Supplier Risk In an Aerospace Supply Chain”, International Journal 9 (2): 155-168.
Shin-Chan, T. and D. I. Cho. 2008. An Integrated Approach for Supplier Selection and Purchasing Decision. International Journal, 13 (2): 116-127.
The Boeing Company. 2560. Boeing Long-Term Market 2016-2035 (online). https://www.boeing.com/commercial/market/long- term-market/, 9 มีนาคม 2560.