ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นันทวัน ภูมีนอก
สกาวรัตน์ พู่ขจี
ผศ. ดร.พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และ
การตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานภาพ
ส่วนบุคคล และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 500 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่าง
โดยอาศัยการเลือกแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก, ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง 2) ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคล ในด้านเพศ สถานภาพ อาชีพและจำนวนสมาชิกในครอบครัว แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลในด้านอายุ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัย
ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด กระบวนการให้บริการและผลิตภาพ และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตราสินค้า และการมีตราผลิตภัณฑ์หรือเครื่องหมายการค้าที่ชัดเจน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ์. (2556). ปัจจัยด้านการตลาดที่ควรจะพิจารณาในการมุ่งสู่ธุรกิจอาหารสำหรับผู้บริโภค
สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, ปีที่ 7(ฉบับที่14),127-136.
จุฑามาศ พรหมมา. (2557). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสุขภัณฑ์และอุปกรณ์เพื่อความ ปลอดภัยภายในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชานินท์ จันทร์พัฒนะ. (2561). มาตรฐาน. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2561, จาก https://www.siamsafety.com/index.php? page=management/management04standard&ps_session=420de64434e4ef
ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ. (2555). กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy). ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560,
จาก https://www.ob2.co.th/md/กลยุทธ์ทางการตลาด8-Ps-Strategy.M0009.html.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี : บริษัท
เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
นนตพันธ์ เทียนทอง. (2555). ปัจจัยทางการตลาดที่ผู้บริโภคใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อสุขภัณฑ์ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
เพชรดา ปาจรีย์. (2557). โครงการออกแบบห้องน้ำสำเร็จรูปเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้มของผู้สูงอายุไทย.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต,
ปีที่ 18 (ฉบับที่ 1), 219-229.
มลฤดี วิริยานนท์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร.
สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม
รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ. (2556). สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society). ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560,
จาก https://fopdev.or.th/สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์.
วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนาและอนุสรณ์ จันดาแสง. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), ปีที่ 21 (ฉบับที่ 1), 179-188.
วิเลิศ ภูริวัชร. (2553). MARKETINNG is all around!. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.
สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์. (2558). ผู้สูงอายุลื่นล้มนำไปสู่พิการ-เสียชีวิตความเสี่ยงอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุ ท้องถนน. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2560, จาก https://health.mthai.com/howto/health- care/10882.html.
สุธิณี แซ่เฮง. (2554). พฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคราคาเดียวของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศ ไทย พ.ศ. 2553-2583. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560, จาก https://social.nesdb.go.th/social/Portals/_
0/Documents/การคาดประมาณ%20e-book.pdf.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2560). สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ข้อมูลมรณบัตร สำนักงานนโยบายและ ยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2560, จาก
https://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=39&gid=1-027
อนัญญา อุทัยปรีดา. (2556). ความเชื่อมั่นในตราสินค้าและภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ส่งผลต่อการ
ตัดสินใจซื้อ กรณีศึกษา : ตราสินค้า COACH EST.1941 NEW YORK. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Gomez, Arranz, A., & Cillán, J. (2006). The role of loyalty programs in behavioral and affective loyalty. Journal of consumer marketing, 23(7), 387-396.
Keller, Kevin Lane. (2003). Strategic Brand Management. Upper Saddle River, New Jersey : Prentice Hall.
Kotler & Armstrong. (1997). การสื่อสารการตลาด : ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2561,
จาก https://free4marketingad.blogspot.com/2011/10/blog-post_04.html.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2006). Marketing Management 12e. Pearson International Edition.
Lovelock & Wright. (2002). Principles of Service Marketing and Management, 2/E. Upper Saddle River,
NJ : Prentice Hall.
SCG Eldercare Solution. (2560). สัญลักษณ์CIT กับผลิตภัณฑ์เพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2560,
จาก www.scgbuildingmaterials.com/th/livingidea/newbuild/ cit-symbol-for-elder-and-person-
with-disability.aspx.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York : Harper and Row Publications.
Yap Wai San & Eashad Yazdanifard. (2014). How Consumer Decision Making Process Differ From
Yongster to Older Consumer Generation. Journal of Research in Marketing. 2, 2.