การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการติดตามเอกสารทางการเงินด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดห่วงโซ่อุปทาน 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคที่ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าด้วยการสร้างให้เกิดการไหลของข้อมูลที่รวดเร็วจึงมีความสำคัญ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการไหลของข้อมูล รวมถึงศึกษาความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าและสาเหตุของความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้า เพื่อกำหนดแนวทางการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการติดตามเอกสารทางการเงินด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดห่วงโซ่อุปทาน 4.0 โดยเก็บและรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 27 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามแบบปลายเปิดและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังการไหล แผนผังกระบวนการทางธุรกิจ IDEF0 Endraw Max Version 9.3 รวมถึง Why – Why Analysis และ How – How Analysis ผลจากการศึกษาการไหลของข้อมูล พบว่าหากเอกสารไม่ถูกต้องจะใช้เวลารวมเฉลี่ยถึง 161 วัน 6 ชั่วโมง โดยพบความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าอยู่ในกิจกรรมตรวจสอบเอกสาร และตรวจสอบหลักฐานการนำส่ง เมื่อวิเคราะห์สาเหตุพบว่ามาจากผู้ปฏิบัติงานมีภาระงานมากเกินไป รวมถึงบุคลากรมีจำนวนจำกัดและจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ เมื่อเสนอแนวทางการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการติดตามเอกสารทางการเงินด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดห่วงโซ่อุปทาน 4.0 พบว่า สามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าได้เป็น 123 วัน 5 ชั่วโมง หรือคิดเป็นร้อยละที่ลดลง 23.72 ทำให้กระบวนการติดตามเอกสารทางการเงินมีความรวดเร็วมากขึ้น ผลจากการศึกษานี้ ผู้บริหารสามารถนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการกระบวนการติดตามเอกสารทางการเงินที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
Article Details
References
ชลกนก โฆษิตคณิน. (2560). ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3), 2138-2151.
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2561). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-63 : อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/.../IO_Medical_Devices_2018_TH.aspx
ฝ่ายจัดเก็บเงิน บริษัท เอ็มพี เมดกรุ๊ป จำกัด. (2562). ข้อมูลรายงานยอดหนี้ที่มีปัญหา ณ 31 มกราคม 2562. กรุงเทพ: บริษัท เอ็มพี เมดกรุ๊ป จำกัด.
พงศ์กร จันทราช. (2560). การพัฒนาระบบรับ-ส่ง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่. Panyapiwat Journal, 8(2), 205-214.
พิพัฒน์ บูรณกลัศ (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการติดตามหนี้ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. Romphruek Journal, 8(2), 69-88.
รัตนพร แจ้งเรื่อง. (2556). การวิเคราะห์ความสูญเปล่าในโซ่อุปทานค้าปลีกด้วยผังกระบวนการทางธุรกิจภายใต้ระบบ Integration Definition for Function Modeling (IDEF). CMU. Journal of Economics, 17(2), 72-87.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี มะฎารัก. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยเว็บเบราว์เซอร์แบบพกพา. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University (JMS-UBU), 6(11), 1-10.
Dossou, P.E. (2018). Impact of Sustainability on the Supply Chain 4.0 Performance. Procedia Manufacturing
, 452-459.
Hebb, N. (2019). What is a Flow Chart?, ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2561. https://www.breezetree.com/articles/what-is-a-flow-chart
Jeong, K.Y. (2009). IDEF Method-based Simulation Model Design and Development. Journal of Industrial Engineering and Management, 2(2), 337-359.
Lee, C. H. (2010). Coordination Contracts in the Presence of Positive Inventory Financing Costs. International Journal of Production Economics, 124(2), 331–339.
Lee, H.L., Padmanabhan, V. & Whang, S. (2004). Information Distortion in a Supply Chain: The Bullwhip Effect. Management Science, 43(4), 546–558.
Lotfi, Z., Mukhtar, M., Sahran, S. & Zadeh, A.T. (2013). Information Sharing in Supply Chain Management. Procedia Technology, 8C, 285-291.
Lu, D. (2011). Fundamentals of Supply Chain Management. Denmark: Dr.Dawei Lu & Ventus Publishing ApS.
Monden, Y., & Kurokawa, Y. (2010). M&a For Value Creation in Japan. Singapore: World Scientific Publishing Co Pte Ltd.
Morawakage, P.S., & Perera, A.S. (2016). A Case Study on Modern Supply Chain Management Practices. Journal of Naval and Maritime Academy, 97-111.
Ohno, T. (2016). Toyota Production System. Cambridge: Productivity Press.
Singh, R.K., & Kumar, R. (2012). Supply Chain Management in SMEs: A Case Study. International Journal of Manufacturing Research, 7(2), 165-178.
Veis, S., & Dasic, P. (2013). Functional and Information Modeling of Production Using IDEF Methods. Strojniski Vestnik, 55(2), 131-140.
Vorst, J. V. (2004). Supply Chain Management: Theory and Practices. Netherlands: Wageningen University & Research.
Zhang, Q., Dong, M., Luo, J., & Segerstedt, A. (2014). Optimal Replenishment and Credit Policy in Supply Chain Inventory Model Under Two Levels of Trade Credit with Tme- and Credit-Sensitive Demand Involving Default Risk. Journal of Industrial Engineering International, 14(1), 31-42.