การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านกลองยาวแห่ง บ้านตลาด ตำบลบ้านหวาย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

เมษ์ธาวิน พลโยธี
ชิชาญา เล่ห์รักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของหมู่บ้านกลองยาวแห่งบ้านตลาด 2) เสนอแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานซึ่งใช้เทคนิคการวิจัยแบบ PAR (Participatory Action Research) และ AIC (Appreciation, Influence, Control) เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามเก็บข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่ 158 คน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเก็บข้อมูลกับผู้นำชุมชน 3 คน ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของหมู่บ้านกลองยาวแห่งบ้านตลาดตามเกณฑ์มาตรฐาน 5 ด้านในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม (3.37) ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนคือ กระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยว ในทุกๆขั้นตอนอันประกอบไปด้วย 1) การมีส่วนในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผน 3)การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และ 4) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ นอกจากนั้นประชาชนควรร่วมกันประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน อันเป็นการประสานแนวคิดของคนในชุมชนให้เห็นเป็นภาพเดียวกัน และนำไปสู่การกำหนดเป็นเป้าหมาย และทิศทางของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดความยั่งยืนโดยให้สอดคล้องตามมาตรฐานทั้ง 5 ด้านขององค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

เมษ์ธาวิน พลโยธี, คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Instructor at Faculty of Tourism and Hotel Management, Mahasarakham University

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน.วารสารนักบริหาร. 32(4),139-146.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562, จาก http://tourism-dan1.blogspot.com/

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR): มิติใหม่ของรูปแบบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนระดับท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ทินกร น้อยตำแย. (2561). การพัฒนางานออนซอนกลองยาวชาววาปีของดีพื้นบ้านจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(3), 28-39.

ธวัชชัย งามสันติวงษ์. (2542). Spss for windows : หลักการและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่.

นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี.(2552). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน.กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

ประภาส อินทนปสาธน์. (2546). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาหมู่บ้านโคกโก่ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สาขาวิชาการบริหารพัฒนา.

ประชาสรรค์ แสนภักดี. 2546). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, จาก http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

เมษ์ธาวิน พลโยธี และคณะ. (2552). ศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านดอนมัน ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยรรยง กางการ. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของหมู่บ้านรอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีระพล ทองมา และ ประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: รายงานผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2555). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://cbtnetwork.org/th/?page_id=45

สิทธิศักดิ์ จำปาแดง. (2561). กลองยาวในวิถีวัฒนธรรมของชาวอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.10(1), 91-109.

สุภางค์ จันทวานิช. (2531). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา ทองพูล. (2554). วัฒนธรรมกลองยาว : การแข่งขัน การอนุรักษ์ และพัฒนาเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลสถิติจากการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย. สิบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561 จาก http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-4-10.html

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)(อพท.). (2558). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ13 มิถุนายน 2561.

จาก http://www.dasta.or.th/dastaarea7/attachments/article/228/SAR.pdf

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวาย. (2562). ประชากรตำบลบ้านหวาย.สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2562, จากhttp://www.banwhay.net/people.html

อุษาวดี พูลพิพัฒน์. (2545). การรับรู้ต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวขอ’ชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนปวนพุ กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Kasperson, R. E. & Breitbal. (1985). Rural Development Participation Conceptual Measures for Project Feign. Carmell University: Rural Development Committee.

Richards, G. (1999). Culture, Cultural Tourism and Identity. Tilburg University, the Netherlands.

World Tourism Organization (UNWTO). (2017). Tourism and Culture. Retrieved from http://ethics.unwto.org/content/tourism-and-culture