พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อข้าวสาร กรณีศึกษาร้านขายข้าวสาร ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อรพรรณ อิสาร
ธวมินทร์ เครือโสม

บทคัดย่อ

ในการศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อข้าวสาร กรณีศึกษาร้านขายข้าวสารในจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์การศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในที่มีผลต่อการเลือกซื้อข้าวสารในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเลือกซื้อข้าวสารในจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อข้าวสารในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของครัวเรือนผู้บริโภคข้าวสารในเขตจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 400 ครัวเรือนซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยมีผลการวิจัยดังนี้


ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.32) ช่วงอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 43.54) ระดับการศึกษาที่มีการเลือกซื้อข้าวสารมากที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษา และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ร้อยละ 50.00) รายได้เฉลี่ยรวมต่อครอบครัวอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาทต่อครัวเรือน (ร้อยละ 35.14) ปริมาณในการซื้อต่อครั้งน้อยกว่า 5 กิโลกรัม (ร้อยละ 63.97) แหล่งในการเลือกซื้อข้าวสารคือ ร้านขายของชำและร้านค้าในหมู่บ้าน (ร้อยละ 35.25) ชนิดของข้าวสารที่เลือกซื้อมากที่สุดคือ ข้าวสารจ้าว (ร้อยละ 61.76) ประเภทของข้าวสารที่เลือกซื้อมากที่สุด คือข้าวขาว ข้าวขัดสีทั่วไป (ร้อยละ 82.28) รูปแบบหรือชนิดของบรรจุภัณฑ์ข้าวสารที่ซื้อเลือกซื้อมากที่สุด คือแบบตักหรือตวงชั่งน้ำหนัก (ร้อยละ 54.99) ครอบครัวที่มีสมาชิกจำนวน 1-3 คน มีการเลือกซื้อข้าวสารมากที่สุด (ร้อยละ 53.69) และวัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อข้าวสาร คือซื้อเพื่อบริโภคในครัวเรือน (ร้อยละ 95.90)


ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยภายในที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสาร พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.43, SD = 0.79) ด้านราคาขายในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.75, SD = 0.59) ด้านคุณภาพการให้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.70, SD = 0.60) ด้านคุณภาพคุณภาพผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} =4.77, SD = 0.50) ด้านบรรจุภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.75, SD = 0.58) ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.75, SD = 0.44) และผลการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสาร พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยแรงจูงใจทางเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X}= 4.29, SD = 1.41) เห็นด้านอัตราการซื้อซ้ำในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.03, SD = 1.23) และด้านความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.82, SD = 0.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา และ เตชา อัศวสิทธิถาวร. (2553). การบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วังอักษร.

คทัยวรรณ เทียนเสม. (2551). ภาพลักษณ์ของสายการบินแจลเวยในความคิดเห็นของผู้สมัครตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จักรพันธุ์ พันธุ์พฤกษ์. (2550). ความหมายของบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จินตนา เพชรพงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวกล้องบรรจุถุงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชีวรรณ เจริญสุข. (2554). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการตลาด.

ดิฐวัฒน์ ธิปัตดี. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าน้ำดื่มบรรจุขวด ตราสิงห์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2558). การนาการเปลี่ยนแปลง เน้นกระบวนการกระจายนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการตำราพัฒนาชนบท: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไทยเอสเอ็มอีเอสเซ็นเตอร์. (2561). การเปิดร้านขายข้าวสาร. สืบค้นจาก http://www.thaismescenter.com/

ธนากร ภัทรพูนสิน และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2556). อิทธิพลของความจงรักภักดีต่อตราสินค้าข้าวสารบรรจุถุง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีราวรรณ์ จันทรมานนท์. (2555). ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีผลต่อลูกค้าในการซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์ และการเลือกจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพรพนา ศรีเสน. (2554). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2551). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีกร วงศ์แสง. (2553). กลยุทธ์การตลาดทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบตองสตูดิโอดอทคอม. สืบค้นจาก https://www.ihotelmarketer.com/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). จำนวนหลังคาเรือน. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). สถิติการส่งออกข้าวสาร. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/

สุปัญญา ไชยชาญ. (2554). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพ1ฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Anderson, E. (2003). Measuring Service Quality in a University Health Clinic. International Journal of Health Care Quality Assurance. 8(2). 32-37.

Buzzell, R. D., & Bradley, T. G. (2009). The PIMS Principles. New York, The Free Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Mearsurement. 30, 607-610.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (2003). Reassessment of Expectations as a Comparison Standard in Measuring Service Quality: Implications for Further Research. Journal of Marketing. 58, 111-124.

Walters. (2003). Adaptive Management of Renewable Resources. New York: McGraw-Hill.