พฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลและ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านปัจจัยความรู้ และด้านพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 220 คน โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2560 - มกราคม 2562 และใช้การวิเคราะห์สถิติด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิติการทดสอบแบบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ ส่วนใหญ่มีเป้าหมายการออมเพื่อใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น/ฉุกเฉิน มีการออมในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์และออมไม่เกิน 5% ของรายได้ต่อเดือน พนักงานส่วนใหญ่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสามารถชำระหนี้ได้ไม่เกิน 10,001 - 15,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มีการลงทุนในธุรกิจส่วนตัวแต่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำและมีการบริหารความเสี่ยงโดยการเก็บออมเป็นเงินฝากธนาคารเพราะต้องการเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินจำนวน 15,001 - 20,000 บาทต่อเดือน สำหรับการวางแผนเกษียณนั้น ส่วนใหญ่ต้องการเงินจำนวนประมาณ 15,001 - 20,000 บาทต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณและคิดว่าจะนำเงินฝากธนาคารมาใช้ อนึ่ง พนักงานส่วนใหญ่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีและจะวางแผนภาษีโดยการประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์นั้นพบว่า ปัจจัยด้านความรู้และพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง และเพศไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคล แต่ประเภทพนักงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคล
Downloads
Article Details
References
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
จันทร์เพ็ญ บุญฉาย. (2552). การจัดการการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2543). การลงทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2557). หลักการลงทุน (Principles of Investment). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ดาริณี ตัณฑวิเชฐ. (2543). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. มหาวิทยาลัยรามคำแหง: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พายัพ ขาวเหลือง. (2548). การวางแผนและบริหารเงินส่วนบุคคล ด้วย excel. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคทีพี.
พิษณุ รัตนปริคณน์. (2557). การบริหารการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มุกดา โควหกุล. (2559). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 2559 (12(1)), 128 – 149.
มนต์ทนา คงแก้ว, ชฎามาศ แก้วสุกใส และนัดพลพิชัย ดุลยวาฑิต. (2557). รายงานการวิจัยการบริหารการเงินส่วน
บุคคลเพื่อสู่อิสระภาพทางการเงินของข้าราชการใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ยุทธนา พงศกร. (2552). การบริหารการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการในเขตเทศบาลนครสงขลาวิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา.
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2555). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด.
ศิรินุช อินละคร. (2556). การเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รู้รอบเรื่องการเงิน วางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2553). หลักสูตรวางแผนการเงิน: ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สุขใจ น้ำผุด และอนุชนฎ เจริญจิตรกรรม. (2551). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และ ปรรณ เก้าเอี้ยน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 32(2), 29 - 57.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี. (2561). รายงานคุณภาพชีวิตคนจังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2561. อุบลราชธานี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี.
อักษร สวัสดี. (2542). ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย: กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Hinkle, D.E, William, W. & Stephen G.J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. New York: Houghton Mifflin.
Stillman, R.J. (1988). Guide to Personal Finance: A Lifetime Program of Money Management. United States of America.