การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยาสำหรับอุตสาหกรรม การผลิตยาสำเร็จรูปในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
แผนกลยุทธ์ยาแห่งชาติ มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ เพื่อความมั่นคงด้านยา และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการจัดจำหน่ายยา และลดการพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศซึ่งมีผลกระทบถึงความมั่นคงด้านยาดังนั้นจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศเพื่อความมั่นคงด้านยา โครงสร้างอุตสาหกรรมยาโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นต้น คือ การวิจัยค้นคว้าพัฒนายาตัวใหม่ ขั้นกลาง คือ การผลิตวัตถุดิบ และขั้นปลาย คือ การผลิตยาสำเร็จรูป ซึ่งขั้นการผลิตยาสำเร็จรูปมีปัจจัยด้านการจัดซื้อวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยาเป็นขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งในการควบคุมและคัดเลือกวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพสู่ขั้นตอนการผลิตยาที่มีคุณภาพ สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมขั้นปลาย โดยสั่งตัวยาสำคัญและวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผสม/ประดิษฐ์ และผลิตเป็นยาสำเร็จรูป
การศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยาสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยาสำเร็จรูปในประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากฝ่ายจัดซื้อของผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 113 ราย ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดซื้อสินค้าวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยาของตลาดยา กับปริมาณการเปลี่ยนแปลงจำนวนการสั่งซื้อวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยา ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ในสถานประกอบการผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน ได้ผลสมการพยากรณ์การตัดสินใจในการสั่งซื้อวัตถุเคมีภัณฑ์ยา ดังนี้
Y = 132.041(คุณภาพของสินค้า) + 484.196(การจัดส่ง) – 474.693(การให้ข้อมูลทางเทคนิค)
ผลวิจัยสรุปว่าคุณภาพของสินค้าและการจัดส่ง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยา การให้ข้อมูลทางเทคนิค มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยา เพราะกระบวนการคัดเลือกผู้จัดจำหน่ายจะมีการให้ข้อมูลทางทางเทคนิคก่อนการจัดซื้อ ทำให้มีผลต่อการคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวน้อยลง ส่วนปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารของตัวแทนบริษัท และคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ยาของตลาดยาในอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย
Downloads
Article Details
References
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112 – 120.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). รายงานอุตสาหกรรมยา รายงานภาวะเศรษกิจอุตสาหกรรม ปี 2560 และแนวโน้มปี 2561.กรุงเทพ: กระทรวงอุสาหกรรม. 20 – 33.
Cecil C. Bozarth, & Robert B. Handfield (2015). Introduction to Operations and Supply Chain Management, Global Edition. Harlow, United Kingdom: Person Education Limited.
Donovan J.A., Maresa F.P. (1999). Supplier Relation (Section 21) Juran’s Quality Handbook (5th ed.). New York : Mcgraw – Hill Book.
John T. Mentez, Wiliam Dewitt, Jame S. Keeder, Soonhong Min, Nancy W. Nix, Carlo D. Smith, Zach G. Zacharia. (2001). Defining Supply Chain Management. Journal of Business Logistics, 22 (2), 1 – 25.
Kalyani Kantilal Sarode. (2017). Building A Proposed Model For Suppliers' Selection Using Multi Criteria Approach. International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET), 4 (7), 960 – 965.
Mallu UR, Nair AK, Sankar J, Bapatu HR, Kumar MP, Narla S, Bhanap TA, Thamma NK, Raman NVVSS. (2015). Impact of API (Active Pharmaceutical Ingredient) Source Selection on Generic Drug Products. Pharmaceutical Regulatory Affairs, 4 (2), 1 – 11.
S.Hemalatha, G. Ram Babu, K.Narayana Rao, K.Venkatasubbaiah. (2015). SUPPLY CHAIN STRATEGY BASED SUPPLIER EVALUATION-AN INTEGRATED FRAMEWORK. International Journal of Managing Value and Supply Chains (IJMVSC), 6 (2), 69 – 84.
Shpend IMERI. (2013). Key performance criteria for vendor selection – A literature review. Management Research and Practice, 5 (2), 63 – 75.
S. Hossein Cheraghi, Mohammad Dadashzadeh, Muthu Subramanian. (2011). Critical success factors for supplier selection: An Update. Journal of Applied Business Research, 20 (2), 91 – 108.
Simon Croom, Pietro Romano, Mihalis Giannakis. (2000). Supply chain management. An analytical framework for critical literature review. European Journal of Purchasing & Supply Management, 6, 67 – 83.
W.C. Benton,Jr.(2007). Purchasing and Supply Management. New York: The McGraw Hill Companies, Inc.
Xinyu Sun. (2017). Supplier Selection by Coupling - Attribute Combinatorial Analysis. Mathematical Problem in Engineering, 1 – 9.
Zeljko Stević. (2017). Criteria for supplier selection: A literature review. International Journal of Engineering, Business and Enterprise Applications (IJEBEA), 19 (1), 23-27.