การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแกะสลักเทียนพรรษาแบบมีส่วนร่วมของวัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อำไพ ยงกุลวณิช
รติ ท่าโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแกะสลักเทียนพรรษาแบบมีส่วนร่วมของวัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแกะสลักเทียนพรรษาแบบมีส่วนร่วมของวัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถูกสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปJoomla และจัดเก็บข้อมูลด้วย Mysql เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเข้าถึงได้ผ่านโดเมนชื่อ http://www.bcomubru.com/PahYai การดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลที่เผยแพร่ในรูปแบบอื่น และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ประเมินความพึงพอใจเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นด้วยแบบสอบถามจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ และวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจจากผู้ใช้เว็บไซต์ ด้วยค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการประเมิน สรุปความพึงพอใจในภาพรวมของผู้ใช้งานเว็บไซต์อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คีรติ นวลละออง. 2555. วงจรการพัฒนาระบบ(ออนไลน์). http://kerati-nuallaong.blogspot.com/2012/03/system-development-life-cycle-sdlc.html. 12 กันยายน 2559.
ดวงพร เกี๋ยงคำ. 2555. คู่มือสร้างเว็บไซต์ ฉบับสมบูรณ์. ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น. ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาสน์.
พระมหาจิตนเรศ วุฑฺฒิธมฺโม. 2555. บทบาทของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รงรอง แรมสิเยอ. 2556. การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการของฝ่ายปกครองตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุชาติ สุวรรณวงค์. 2556. ฮีตวิถีชาวอุบล คนทำเทียน. อุบลราชธานี : วินเนอร์ออฟเซ็ท จำกัด.
Padoungkiat.2554. ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์(ออนไลน์).
http://patamweb.blogspot.com/2011_05_01_archive.html. 12 กันยายน 2559.