การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ใหญ่บ้านและกำนันในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา Leadership Development of the Chiefs of Villages and Sub-Districts in Chachoengsao Province

Main Article Content

อำนวย ปาอ้าย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและกำนันในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2)ความต้องการการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ใหญ่บ้านและกำนันในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ประเมินผลพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ประเมินผลการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านและกำนันในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 101 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง  การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  ได้แก่


ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที   ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์


เชิงเนื้อหา


                   ผลการศึกษาครั้งนี้มีดังต่อไปนี้


                         1) ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและกำนันในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ (1) การบริหารจัดการเวลาระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่และกำนันและการประกอบอาชีพ  (2) การมีส่วนร่วมของชาวบ้านยังไม่เข้มแข็ง (3) ขาดการประสานงานที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (4) ขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง  และ(5) มีความขัดแย้งของประชาชนบางกลุ่มในหมู่บ้านและตำบล   


         2) ความต้องการการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ใหญ่บ้านและกำนันในจังหวัดฉะเชิงเทรา มี 6 ด้าน ได้แก่ (1) บทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและกำนัน  (2) เทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการตัดสินใจ (3) การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (4) กลยุทธ์การประสานงาน การสื่อสารและการประชาพันธ์  (5)  กลยุทธ์การบริหารเวลาและการพัฒนาตนเอง และ (6) การจัดการการประชุมที่มีประสิทธิภาพ


         3) ผู้ใหญ่บ้านและกำนันในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนเข้าอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ  ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการและด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 


 


Abstract


   The purposes of this research were to 1) study the challenges of duty performance of the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province, 2) investigate the needs for leadership development by the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province, and 3) evaluate the current progress in leadership development by the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province. The sample consisted of 101 chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province obtained by purposive sampling. This study used mixed methods. The tool used for quantitative data collection was a questionnaire. On the other hand, the tool used for qualitative data collection was focus groups. The statistics used for quantitative data analysis were percentage, mean, standard deviation, and T-test, while the qualitative data was analyzed by means of content analysis.


   The study results were as follows:


          1) The challenges of duty performance were (1) time management skills of the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province regarding their performance of duties and career tasks, (2) weak participation by inhabitants of the villages and sub-districts, (3) a lack of effective collaboration and coordination with related agencies, (4) leaders’ lack of knowledge and understanding of their own roles and duties, and (5) the occurrence of conflicts among some groups of the inhabitants of the villages and sub-districts.


  1. Aspects of the needs for leadership development for the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province were (1) definition of the roles and duties for the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province, (2) techniques of conflict-resolution and decision-making, (3) the organization and encouragement of development participation, (4) strategies of coordination, communication, and public relations, (5) strategies of time management and self-development, and (6) effective meetings organization.

  2. After training, the chiefs of villages and sub-districts in Chachoengsao Province retained knowledge regarding leadership higher than before training, at the 0.05 level of statistical significance. In addition, their opinions towards leadership development in the academic aspect and leadership development activity aspect, as a whole, were at a high level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปาอ้าย อ. (2017). การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ใหญ่บ้านและกำนันในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา Leadership Development of the Chiefs of Villages and Sub-Districts in Chachoengsao Province. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(12), 1–9. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/111594
บท
บทความวิจัย (Research Article)