รถเกี่ยวนวดข้าวและการจ้างแรงงานของเกษตรกรพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ Economic Costs and Benefits in Harvesting Activities by Combine Harvesters, and Labors in Ubon Ratchathani Sisaket and Surin Province

Main Article Content

สุภาวดี ขุนทองจันทร์
มาลิณี ศรีไมตรี
วิลารักข์ อ่อนสีบุตร

บทคัดย่อ

 


บทคัดย่อ


 


ในปัจจุบัน เกษตรกรผลิตข้าวนอกจากเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้ครัวเรือนแล้วยังผลิตเพื่อการจำหน่ายด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และเหตุผลในการจ้างรถเกี่ยวนวดข้าวในการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวของเกษตรกร และ (2) เพื่อศึกษาต้นทุนต่อไร่ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวด้วยการจ้างแรงงานคนและการจ้างรถเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรชาวนา จำนวน 384 ราย ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ผลการศึกษาพบว่า (1)  เกษตรกรตัดสินใจจ้างรถเกี่ยวนวดข้าวมาจากเหตุผลหลักคือผลกระทบของภัยธรรมชาติในระหว่างเก็บเกี่ยว และเหตุผลรองคือสภาพข้าวในนา และ (2) เกษตรกรมีต้นทุนการเก็บเกี่ยวด้วยรถเกี่ยวนวดข้าวเฉลี่ย 830 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคนเฉลี่ย 1,400 บาทต่อไร่ ทั้งนี้เกษตรกรที่ใช้บริการรถเกี่ยวนวดข้าวและใช้แรงงานคนในกิจกรรมการเก็บเกี่ยว มีผลตอบแทนเฉลี่ย 6,300 บาทและ 6,000 บาทต่อไร่ตามลำดับ   ถึงแม้การเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนจะมีต้นทุนเก็บเกี่ยวที่สูงกว่า หากมองภาพรวมแล้วต้นทุนการผลิตทั้งระบบไม่ว่าจะเลือกใช้แรงงานคนหรือรถเกี่ยวนวดข้าวจะมีต้นทุนใกล้เคียงกัน


 


 


Abstract


 


Nowadays, farmers produce rice not only for household consumption as their food security but also produce it for commercial purpose. This study purports to (1) study circumstances and reasons for hiring combine harvesting tractors in paddy farming (2) analyze cost per rai of harvesting by comparing human labors and combine harvesting tractors which were hired by the paddy farmers. The sample of the study includes 384 paddy farmers in Surin, Srisaket, and Ubon Ratchathani province, and they were sampled by multi-stage sampling. The tool utilized in collecting data is a questionnaire. The collected data was statistically operated by analyzing frequency, percentage, mean, standard deviation, and cost-benefit analysis. Results show that (1) The paddy farmers decided to hire the combine harvesting tractors based on 2 reasons: to prevent or minimize natural disaster impacts in harvesting seasons and harvesting condition/ readiness of the paddy in the field. (2) The cost per rai for hiring the combine harvesting tractors was 830 baht and the cost for hiring human labors was 1,400 baht per rai. The farmers using the combine harvesting tractors and human labors gained 6,300 baht and 6,000 baht per rai respectively. Although, the cost per rai of human labor harvesting was higher, but their overall cost of production, either by using the human labors or the combine harvesting tractors were found approximately the same.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)