การพัฒนาแบบวัดการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย

Main Article Content

เกศกุล สระกวี
อรพินทร์ ชูชม

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย จำนวน 325 คน แบบวัดการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จพัฒนาจากแนวคิด Competing Values Framework ของ Cameron&Quinn (2011) โดยข้อคำถามปรับจากแบบวัด Organization Culture Assessment Instrument (OCAI) และปรับให้เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานโรงงานอาหารสัตว์ของไทย ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แบบวัดมีข้อคำถาม 19 ข้อ  5 องค์ประกอบ ผลการพัฒนาคุณภาพแบบวัดการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ มีดังนี้  (1) แบบวัดมีความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ .935 แสดงว่าแบบวัดมีคุณภาพด้านความสอดคล้องภายใน (2) ผลการวิเคราะห์สถิติ Kaiser–Meyer–Olkin (KMO) มีค่าเท่ากับ .922 และ Bartlett’s Sphericity Test-Approximate มีค่าเท่ากับ 4565.628 ซึ่งเป็นค่าที่ผ่านเกณฑ์ แสดงว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบมีความเหมาะสมกับข้อมูล (3) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า แบบจำลองการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=304.967, df=142, CFI=.949, TLI=.938, RMSEA=.059) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกต (ข้อคำถาม) มีค่าระหว่าง .595-.881 เป็นค่าที่ผ่านเกณฑ์  แบบวัดจึงมีโครงสร้างองค์ประกอบที่ถูกต้องและกลมกลืนกับแบบจำลอง (4) ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงจำแนก พบว่า แบบจำลองการวัดที่มีโครงสร้างองค์ประกอบ 5 ด้านมีความเที่ยงตรงเชิงจำแนกดีกว่าแบบจำลองการวัดที่มีโครงสร้างองค์ประกอบ 4 ด้าน แสดงว่า ตัวแปรสังเกตแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายองค์ประกอบทั้ง 5 ที่แตกต่างกันได้ และ (5) องค์ประกอบแต่ละด้านมีค่าความเชื่อมั่นการวัดของตัวแปรแฝง (CR) ระหว่าง .802-.877 และค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่ถูกสกัดได้ (AVE) ของแต่ละองค์ประกอบมีค่าระหว่าง .508-.705 แสดงว่า ข้อคำถามหรือตัวแปรสังเกตมีความเชื่อมั่นในการวัดตัวแปรแฝงได้แตกต่างกันในแต่ละองค์ประกอบ ผลการพัฒนาแบบวัดแสดงว่า แบบจำลองการวัดมีความเหมาะสม เชื่อถือได้และถูกต้องสอดคล้องตามทฤษฏีวัฒนธรรมองค์การและบริบทของพนักงานในอุตสาหกรรมโรงงานอาหารสัตว์ แบบวัดมีองค์ประกอบที่มั่นคง สามารถนำมาปรับใช้ประเมินพนักงานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมได้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)