แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน

Main Article Content

พนิดา รัตนสุภา
จรีพร เชื้อเจ็ดตน
ปิยวรรณ เสรีพงศ์
ธนัชชา สุริยวงค์
เย็นจิต นาคพุ่ม
เจษฏา ร่มเย็น
เสาวลักษณ์ บุญรอด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลาดุกร้า (2) ศึกษาองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลาดุกร้า (3) กำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลาดุกร้าในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศึกษากลุ่มผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจชุมชนด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 7 กลุ่ม และกลุ่มผู้บริโภคที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าที่ผลิตในจังหวัดนครศรีธรรมราชสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีตามความสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้ 10,000-15,000 บาท และประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า คือ ซื้อเพื่อบริโภคเอง ซื้อจากตลาดสด เหตุผลที่เลือกซื้อ เนื่องจากรสชาติผลิตภัณฑ์และได้รับรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าจากการบอกต่อ ส่วนองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์หลัก ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านรสชาติอร่อยตรงกับความต้องการของผู้บริโภคด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่โดดเด่น ด้านผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าผง ด้านผลิตภัณฑ์ควบผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการบริการส่งถึงที่ (Delivery) และได้รับมาตรฐานอาหารและยา (อย.) ด้านศักยภาพผลิตภัณฑ์  ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าป่น และเลือกบรรจุภัณฑ์แบบถุง ดังนั้น ควรพัฒนาและให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าเพิ่มสูงขึ้น

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)