ความสามารถในการแข่งขันของธนาคารไทยพาณิชย์ไทยในประเทศกัมพูชา: กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ไทยในประเทศกัมพูชา กรณีศึกษา
ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยใช้แบบจำลองระบบเพชรที่สมบูรณ์ (Diamond Model) ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ ปัจจัยการผลิต
ด้านความต้องการหรืออุปสงค์ ด้านอุตสาหกรรมที่สนับสนุน และเกี่ยวเนื่องด้านโครงสร้าง กลยุทธ์ของบริษัท และบริบทของการ
แข่งขัน ด้านนโยบายของรัฐบาล และ ด้านเหตุสุดวิสัยหรือโอกาส ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการ
วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน และใช้การวิเคราะห์วิธีของ CAMEL ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเทียบกับ
ธนาคารเอซีลีดา โดยวิเคราะห์ด้าน ความพอเพียงของเงินทุน คุณภาพของสินทรัพย์ คุณภาพในการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ
ในการทำกำไร และสภาพคล่อง ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศกัมพูชา ผลการศึกษา พบว่า ธนาคารเอซีลีดามีความ
ได้เปรียบในด้านการบริหารสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร และสภาพคล่อง เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่า และเงินทุนรองรับ
สำหรับการปล่อยสินเชื่อ เพื่อเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยให้กับธนาคารได้มากกว่า แต่ธนาคารไทยพาณิชย์มีประสิทธิภาพในการบริหาร
จัดการมากกว่าธนาคารเอซีลีดา เนื่องจากมีการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากกว่าจากการเทียบจำนวนพนักงาน
สำหรับผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศกัมพูชา พบว่า ตัวแปรต่างๆ ยังคงเอื้ออำนวย
ต่อการแข่งขัน แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่อื่นๆ อย่างไรก็ตามธนาคารไทยพาณิชย์ก็จะต้องมีการ
พัฒนาโดยเฉพาะระบบ E-Banking เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเครื่องบริการฝากถอนเงิน
ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ เพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว
ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยใช้แบบจำลองระบบเพชรที่สมบูรณ์ (Diamond Model) ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ ปัจจัยการผลิต
ด้านความต้องการหรืออุปสงค์ ด้านอุตสาหกรรมที่สนับสนุน และเกี่ยวเนื่องด้านโครงสร้าง กลยุทธ์ของบริษัท และบริบทของการ
แข่งขัน ด้านนโยบายของรัฐบาล และ ด้านเหตุสุดวิสัยหรือโอกาส ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการ
วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน และใช้การวิเคราะห์วิธีของ CAMEL ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเทียบกับ
ธนาคารเอซีลีดา โดยวิเคราะห์ด้าน ความพอเพียงของเงินทุน คุณภาพของสินทรัพย์ คุณภาพในการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ
ในการทำกำไร และสภาพคล่อง ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศกัมพูชา ผลการศึกษา พบว่า ธนาคารเอซีลีดามีความ
ได้เปรียบในด้านการบริหารสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร และสภาพคล่อง เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่า และเงินทุนรองรับ
สำหรับการปล่อยสินเชื่อ เพื่อเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยให้กับธนาคารได้มากกว่า แต่ธนาคารไทยพาณิชย์มีประสิทธิภาพในการบริหาร
จัดการมากกว่าธนาคารเอซีลีดา เนื่องจากมีการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากกว่าจากการเทียบจำนวนพนักงาน
สำหรับผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศกัมพูชา พบว่า ตัวแปรต่างๆ ยังคงเอื้ออำนวย
ต่อการแข่งขัน แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่อื่นๆ อย่างไรก็ตามธนาคารไทยพาณิชย์ก็จะต้องมีการ
พัฒนาโดยเฉพาะระบบ E-Banking เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเครื่องบริการฝากถอนเงิน
ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ เพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว
Article Details
Section
บทความวิจัย (Research Article)
All published articles are SJMS’s copyright. The editorial board allows all published articles to be copied, excerpted, or disseminated with academic citation.