การนำเทคนิค Balanced Scorecard ไปสู่การปฏิบัติในองค์กรภาครัฐ : กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบองค์กรภาครัฐ ระดับท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการนำเทคนิค Balanced Scorecard (BSC) ไปสู่การปฏิบัติในองค์กรภาครัฐ โดยใช้ตัวแปรจากตัวแบบในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3 ตัวแบบ คือ ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ และตัวแบบทางด้านกระบวนการของระบบราชการ มาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อทำให้เห็นถึงกระบวนการ และปัญหาอุปสรรคพร้อมทั้งปัจจัยในการนำเทคนิค BSC ไปสู่การปฏิบัติในองค์กร ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกศึกษาจากองค์กรภาครัฐในระดับท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ 2 องค์กรในจังหวัดพิษณุโลก ที่นำเทคนิค BSC ไปสู่การปฏิบัติในองค์กร
ผลการศึกษา พบว่า วิธีการในการนำเทคนิค BSC ไปสู่การปฏิบัติในองค์กรทั้ง 2 แห่งนั้น มีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรก่อนการระดมสมองเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งทั้ง 2 องค์กรได้เปิดโอกาสให้บุคคลจากภายนอกและบุคลากรภายในได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย แต่จากผลของการวิจัยพบว่าทั้ง 2 องค์กรก็ยังพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนำเทคนิค BSC ไปสู่การปฏิบัติในองค์กร
ข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรในการเตรียมความพร้อมต่อการนำเทคนิค BSC ไปสู่การปฏิบัติในองค์กร คือ ผู้บริหารจะต้องพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวกับเทคนิค BSC อย่างถ่องแท้ อีกทั้งต้องเข้ามาดูแลระบบอย่างใกล้ชิด ปลูกฝังทัศนคติ แนวคิด ให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ทุกระดับในองค์กรเล็งเห็นถึงความสำญและประโยชน์จากการนำมาใช้เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพและ ความสำเร็จขององค์กร
The Implementation of a Balanced Scorecard (BSC) to Public Organizations : A Comparative Case Study of Local Government Organizations in Phitsanulok
The objectives were to comparatively study the process of Balanced Scorecard (BSC) implementation to public organizations by using variables from the Rational Model, Organization Development Model and Bureaucratic Process Model. This research studied the processes, problems and obstacles as well as factors that were effected by the implementation of the BSC in order to methods foe improving organizations.
This study was based on qualitative research obtained through a literature review, interviews and in-depth interviews. The samples for this research were two local government organizations in Phitsanulok which had applied BSC to their organizations. The study found that prior to BSC implementation both public organizations had opportunities for staff, people and third parties discuss strategies for implementation.
The suggestion was that the administrators should develop an operational understanding of these issues more clearly and cultivate attitudes relating to the concept of operations and management at all levels in organizations. Organization administrators should realize the importance and benefit from the application of BSC to performance and organizational success.
Article Details
All published articles are SJMS’s copyright. The editorial board allows all published articles to be copied, excerpted, or disseminated with academic citation.