ศักยภาพการทำสวนยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1). เพื่อศึกษาความเป็นอิสระระหว่างปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยผู้นำ ปัจจัยองค์กรทางสังคม ปัจจัยการติดต่อกับสังคม และปัจจัยการจัดการดูแลกับศักยภาพการทำสวนยางพาราของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2). เพื่อหาข้อสรุปเสนอรัฐบาลว่าควรจะส่งเสริมการ ปลูกยางตั้งแต่ปี 2556 ต่อไปหรือไม่ ประชากรเป็นเกษตรกรในพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22,646 ราย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 236 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวัดศักยภาพแบ่งเป็น 2 กรณีคือ วัดจากปริมาณน้ำยาง และวัดจาก ปริมาณต้นยาง โดยมีปัจจัยกำหนดคือ ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัยด้านองค์กรทางสังคม ปัจจัย การติดต่อกับสังคม ปัจจัยการจัดการดูแล ผลการวิจัยพบว่า 1). ความเป็น อิสระระหว่างปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยผู้นำ ปัจจัยองค์กรทางสังคม ปัจจัยการติดต่อกับสังคม และ ปัจจัยการจัดการดูแล กับศักยภาพการทำสวนยางพาราของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05 พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับศักยภาพการทำสวนยางพาราของเกษตรที่พิจารณาจากปริมาณน้ำยางที่ผลิตได้ต่อไร่ ได้แก่ สภาพพื้นที่ สภาพแหล่งน้ำ ประสบการณ์การอบรมเกี่ยวกับความรู้เรื่องปุ๋ย และวัชพืช และประเภทปุ๋ยที่ใช้ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ศักยภาพการทำสวนยางพาราของเกษตรกรที่พิจารณาจากจำนวนต้นยาง ที่เหลือต่อไร่ ได้แก่ การเป็นและไม่เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ประสบการณ์การอบรมเกี่ยวกับการปลูกการบริหารจัดการ และความรู้เรื่องปุ๋ยและวัชพืชจากผลการวิจัย 2). รัฐบาลควรจะส่งเสริมการปลูกยาง ในปี 2556 ต่อไปเพราะผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สงเคราะห์ ปลูกยางพาราแก่ผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนตาม พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ม.21 ทวิขยายเวลาการสงเคราะห์ปลูกยางพาราแก่ผู้ซึ่งไม่มี สวนยางมาก่อน (พ.ศ.2538-2547) ในด้านการเพิ่มผลผลิตยางพาราเพื่อการส่งออก เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรมีศักยภาพสูงทั้งด้านปริมาณน้ำยาง ที่ผลิตได้ต่อไร่ (ร้อยละ 69.1) และจำนวนต้นยางที่เหลือต่อไร่ (ร้อยละ 88.6) พบว่าผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรสวนยางเพิ่มขึ้น เกิดการสร้างงานในพื้นที่และก่อให้เกิดการใช้แรงงานในครอบครัว อย่างมีประสิทธิภาพ
Potential in Rubber Planting in Northeastern Part
The two objectives of this research were: 1.) to study the independence between natural resource, human resource, leadership,social organization, social connection and managements factors, and rubber planting potential of Northeastern agriculturists 2.) to find a summary in order to propose to the government whether to further promote rubber planting from 2013 or not. The study was conducted in 19 provinces in the Northeastern part of Thailand with 236 families. The potential measurement was divided into two cases which measured from latex quantity and number of rubber trees. The set factors were natural resource, human resource, leadership, social organization, social connection and management factors.
The research findings were: 1.) the independence between natural resource, human resource, leadership, social organization, social connection and management factors, and rubber planting potential of Northeastern agriculturists; the hypothesis test was significantly at .05 showed that factors related to the rubber planting potential of agriculture considering from the quantity of latex received per rai which were land and water sources’ conditions, training experience about fertilizer and weeds, and types of fertilizer used. While the factors related to the rubber planting potential of agriculturists considering from number of rubber trees per rai which were being or not being member of social groups, training experience about plantation, management and the knowledge about fertilizers and weeds. 2.) the government should still promote rubber plantation in 2013 because the objectives’ success of rubber plantation welfare project for those who did not have rubber land according to Rubber Planting Welfare Fund Act, Section 21 bis which extends the rubber planting welfare time to those who did not have rubber land before (1995-2004) concerning rubber production increase for export because majority of the agriculturists had high potential both quantity of latex produced per rai (69.1 per cent) and number of rubber trees per rai (88.6 per cent). This showed that the increase of rubber productivity made the rubber agriculturists’ income increase, more job creation in the area and made efficient labors usage in the family.
Article Details
All published articles are SJMS’s copyright. The editorial board allows all published articles to be copied, excerpted, or disseminated with academic citation.