แนวคิดการประเมินต้นทุนการผลิตยางพาราไทย

Main Article Content

บัญชา สมบูรณ์สุข
ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์
อภิญญา รัตนไชย

Abstract

การประเมินต้นทุนการผลิตยางพาราไทยที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยโดยหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสถาบันการศึกษา ซึ่งมีข้อวิพากษ์ที่เป็นทั้งข้อจำกัดและแนวทางการศึกษาและวิจัยในอนาคต รวมถึงเป็นการศึกษาและวิจัยเฉพาะพื้นที่ที่สนใจ หรือเฉพาะประเด็นเท่านั้น อีกทั้งยังขาดความต่อเนื่องในการศึกษาและวิจัย บทความนี้จึงได้ทำการสังเคราะห์ประเด็นที่เป็นข้อวิพากษ์เกี่ยวกับการประเมินต้นทุนการผลิตยางพาราไทยที่ผ่านมา ตลอดจนได้เสนอกระบวนการประเมินต้นทุนการผลิตยางพาราไทยไว้ 5 ขั้นตอน อันได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการประเมิน 2) การศึกษาและทำความเข้าใจในระบบการผลิตยางพาราและพฤติกรรมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 3) การกำหนดสมมติฐานในการประเมิน 4) การใช้หลักและวิธีการประเมินที่เหมาะสม และ 5) การสร้างภาพฉายอนาคต เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งครอบคลุมสภาพทางเศรษฐกิจสังคม กายภาพ และชีวภาพในการผลิตยางพาราของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตลอดจนเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายยางพาราได้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสามารถแก้ปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Ideas for the Cost Estimation of Thai Para-rubber Production

The previous cost estimation of Thai para-rubber production had beenmoderately studied and researched in some government sectors such as Rubber Research Instituteof Thailand, Department of Agriculture, Office of Agricultural Economics,and education institutes. Among these sectors, there were some criticisms which were both limitations and suggestions for further study and research. In addition, the cost estimation of Thai pararubber production was studied and researched in interested areas or specific issues. These studies and researches also lacked of continuity. This article attempts to synthesize some criticisms of the previous cost estimationof Thai para-rubber production. Moreover, five steps for the cost estimation of Thai para-rubber production are proposed. They are; 1) specifying objectives and scope of the estimation, 2) learning and understanding onpara-rubber productionsystem and para-rubber farmers’ behavior, 3) specifying hypothesis of the estimation, 4) using appropriate method of the estimation, and5) creating scenario in order to receive the accurate and obvious results including to cover the socio-economic, physical and biological characteristics of para-rubber production of Thai para-rubber farmers. Furthermore, government sectors involving in pararubber policy formulation will have reliable information and be able to efficiently solve the problems of Thai para-rubber farmers.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Review Article)