บทบาทของประเทศไทยในฐานะประตูการค้าของกลุ่มประเทศอินโดจีนสำหรับสาธารณรัฐเกาหลี

Main Article Content

สถาพร โอภาสานนท์

Abstract

ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์จากการมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ตรงกลางของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก กอปรกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สนับสนุนการบูรณาการโครงข่ายโลจิสติกส์ภายในอาเซียน โดยมีโครงการขยายท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์การขนส่งทางทะเล รวมถึงแผนการก่อสร้าง “แลนด์บริด” เชื่อมโยงฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการเป็นประตูโลจิสติกส์ทางการค้าระหว่างประเทศเกาหลี กับภูมิภาคจีนตอนใต้และกลุ่มประเทศอินโดจีน โดยมุ่งสำรวจเส้นทางการขนส่งและจุดเชื่อมโยงที่มีบทบาทสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในภูมิภาค

 

Thailand as a Gateway to Indochina for Korea Trade

Thailand has great advantages of her geographical location as situated at the centre of the North-South and East-West Economic Corridor. Several projects of transportation infrastructure development supporting the logistics network integration within ASEAN, have been initiated. The largest international deep-sea port of Thailand, Laem Chabang, will be expanded to cope with increasing maritime transport demands. The planned project of constructing a land bridge linking the Indian Ocean and the Pacific, can also strengthen the country in terms of logistics performance and trade facilitation. This paper aims at validating the possibility of Thailand as a major logistics gateway for Korea trade to South China and neighboring countries of Indochina. Significant linkage nodes and potential routes facilitating the trade are explored.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)