ความต้องการพัฒนาความรู้ทางด้านบัญชีและวิธีการให้บริการความรู้สำหรับผู้ทำบัญชีในธุรกิจภาคเหนือตอนล่าง 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้ทางด้านบัญชีและวิธีการให้บริการความรู้สำหรับผู้ทำบัญชี พร้อมทั้งเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การจัดทำบัญชี และประเภทธุรกิจ ประชากรสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทำบัญชีใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดสุโขทัย ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ราย โดยการเลือกสุ่มแบบกำหนดสัดส่วนให้แต่ละจังหวัดและแต่ละประเภทธุรกิจ หลังจากนั้นสุ่มแต่ละกิจการอย่างไม่เจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดย การใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ร่วม
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทำบัญชีส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 25 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี 1 – 3 ปี ผลการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาความรู้ทางด้านบัญชีจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การจัดทำบัญชีและประเภทธุรกิจ พบว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีเพศชายหรือเพศหญิง ช่วงระดับอายุใด ช่วงระดับการศึกษาใด หรือไม่ว่าผู้ทำบัญชีมีประสบการณ์การจัดทำบัญชีเท่าใด และทำงานอยู่ในทุกประเภทธุรกิจ มีความต้องการพัฒนาความรู้ทั่วไปของการบัญชี การบันทึกบัญชี และการจัดทำบการเงิน มากที่สุด ไม่แตกต่างกัน
สำหรับผลการเปรียบเทียบความต้องการในด้านวิธีการให้บริการความรู้สำหรับผู้ทำบัญชีจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การจัดทำบัญชีและประเภทธุรกิจ พบว่า ผู้ทำบัญชีเพศชายและเพศหญิงมีความต้องการวิธีการให้บริการความรู้แตกต่างกัน ผู้ทำบัญชีอายุต่ำกว่า 25 ปี อายุ 31 – 35 ปี และอายุ 40 ปีขึ้นไป มีความต้องการวิธีการให้บริการความรู้โดยการเข้ารับการอบรม สัมมนา มากที่สุด ผู้ทำบัญชีที่มีระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี ผู้ทำบัญชีทุกช่วงประสบการณ์ และผู้ทำบัญชีในทุกประเภทธุรกิจ มีความต้องการวิธีการให้บริการความรู้โดยการเข้ารับการอบรม สัมมนา มากที่สุด ซึ่งจากผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปกำหนดแนวทางเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านบัญชีที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ทำบัญชีตามคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันออกไป
Article Details
All published articles are SJMS’s copyright. The editorial board allows all published articles to be copied, excerpted, or disseminated with academic citation.