โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนสองภาษาเกล็ดแก้ว
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา, โรงเรียนสองภาษา, การนิเทศภายในบทคัดย่อ
การศึกษานี้เกิดจากความต้องการพัฒนาการบริหารการศึกษาของโรงเรียนสองภาษาเกล็ดแก้วในเขตพื้นที่พิเศษ ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ต้องการระบบการศึกษาที่สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและบุคลากร และสามารถเป็นต้นแบบการบริหารที่นำไปใช้ในโรงเรียนอื่นในเขตพื้นที่พิเศษได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารจัดการของโรงเรียนสองภาษาเกล็ดแก้ว (Kledkaew Bilingual School) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาโมเดลการบริหารที่มีมาตรฐาน 2) กำหนดแนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและหลักสูตร เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้เชี่ยวชาญตามความถนัด และ 3) พัฒนาแนวทางการเสริมศักยภาพครูและบุคลากร ทั้งในด้านการเรียนการสอน การนิเทศ และการประเมินผล การวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อมาตรฐานสากลผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการ ของโรงเรียนสองภาษาเกล็ดแก้วประกอบด้วยวัตถุประสงค์ แนวคิด หลักการ บริบท ปัจจัย กระบวนการ คุณภาพ และเงื่อนไขความสำเร็จ โครงสร้างการบริหารแบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ งบประมาณ บุคคล และทั่วไป หลักสูตรการศึกษา เป็นแบบ Bilingual Program สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กให้สมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยใช้การเรียนการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กระบวนการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหา การวางแผน การเตรียมปฏิบัติ การปฏิบัติ การประเมินผล และการรายงานผล การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปตามกฎกระทรวง พ.ศ.2561 ซึ่งมีมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่ คุณภาพของเด็ก กระบวนการบริหารจัดการ และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยสรุป รูปแบบการบริหารของโรงเรียนมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ รองรับการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศที่เป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด
References
Aguilar, F. J. (1967). Scanning the business environment. Macmillan.
Baker, C. (2011). Foundations of bilingual education and bilingualism (5th ed.). Multilingual Matters.
Bush, T., & Bell, L. (2002). The principles and practice of educational management. Paul Chapman Publishing.
Cummins, J. (2000). Language, power, and pedagogy: Bilingual children in the crossfire. Multilingual Matters.
Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. MIT Press.
Department of Local Administration. (2008). Regulations on the promotion of local governance. https://www.dla.go.th/upload/regulation/type1/2551/06/
García, O. (2009). Bilingual education in the 21st century: A global perspective. Wiley-Blackwell.
Kantapat, M. (2018). Educational management in bilingual schools (Master’s thesis). Srinakharinwirot University.
Maream, N. (2016). Research methods in education (8th ed.). Silpakorn University Press.
Ministry of Education. (2007). Ministerial regulations on criteria and methods for decentralization of administration and educational management, B.E. 2550. Royal Gazette.
Ministry of Education. (2018a). Ministerial regulations on educational quality assurance, B.E. 2561. Royal Gazette.
Ministry of Education. (2018b). Standards for basic education, B.E. 2561. Royal Gazette.
Ministry of Education. (2019). National standards for early childhood development centers. Royal Gazette.
National Education Act B.E. 2542 and Amendment (No. 4), B.E. 2562, Part 2: Administration and Management of Education by Local Administrative Organizations, Section 41. (2019).
Natthakorn, P. (2018). Factors affecting the success of bilingual schools (Master’s thesis). Burapha University.
Office of Non-Formal and Informal Education. (2012). Internal supervision processes in educational institutions. Office of Non-Formal and Informal Education.
Office of the Basic Education Commission. (n.d.). Academic document. http://academic.obec.go.th/images/document/1590998426_d_1.pdf
Thailand Development Research Institute. (2020). Educational development in special areas. Thailand Development Research Institute.
Warunee, L. (2017). Innovations and technologies in educational management (Master’s thesis). Ramkhamhaeng University.
Wattana, W. (2007). Analysis of the external environment of organizations. Chulalongkorn University Press.
Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2002). Strategic management and business policy. Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.