การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ
คำสำคัญ:
รูปแบบศูนย์การเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ชาวปกาเกอะญอบทคัดย่อ
โลกาภิวัฒน์ทำให้สังคมชุมชนเปลี่ยนแปลง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกำลังจะหายไป การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ 2) พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ การวิจัยนี้ ดำเนินการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการของศูนย์ฯ โดยศึกษาเอกสาร และภาคสนาม ในจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จำนวน 4 ศูนย์ฯ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 60 คน เครื่องมือ คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบศูนย์ฯ ยกร่างรูปแบบ และสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน เครื่องมือ คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกข้อมูล และ ระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ การสนทนากลุ่ม จำนวน 21 คน เครื่องมือ คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1)ศูนย์ฯ มีสภาพแวดล้อม และวิถีความเป็นชุมชน เป็นทุนทางวัฒนธรรม จัดการเรียนการสอนโดยชุมชนมีส่วนร่วม ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาสภาพแวดล้อมอาคารสถานที่ สิ่งก่อสร้าง แหล่งเรียนรู้เสื่อมโทรม การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ บุคลากรขาดทักษะการจัดการเรียนรู้ ขาดงบประมาณ และปัญหาสิทธิประโยชน์ทางการศึกษา และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 2) ความต้องการของศูนย์ฯ พบว่า ต้องการยกระดับคุณภาพบุคลากร การจัดการเรียนรู้ การรับรองสถานะบุคลากรทางภูมิปัญญา การสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษา 3)รูปแบบศูนย์ฯ มีองค์ประกอบเป็นประโยชน์และศูนย์ฯ ควรได้รับการสนับสนุนและพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
References
Prathumrat, C. (2020). Development of a community-learning-center management system for local administrative organizations in Samut Prakan Province. Dusit Thani College Journal, 14(3), 491-511.
Saenpromma, P., Leetagoon, S., Na Lamphun, S., & Chainan, K. (2019). Management participation model of community learning center for promoting the learning process of people in Phayao Province. Narkbhutparitat Journal, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 11(2), 168-177.
Panitkul, P., et al. (2017). Report on a research project on the rights of the Karen community (Pakakenyaw) and the implementation of a special cultural zone, shifting cultivation in strategic areas for resolving disputes: The case of arable land and residences of the Karen community in the northern forest area. Office of the National Human Rights Commission. Retrieved from http://library.nhrc.or.th/ULIB/dublin.php?ID=10090
Phatthanaphraiwan, S. (2018). Special socio-cultural zone of Pgaz K’ Nyau Hermit Kon Ton TA lay Community in Mor Ta – Hmong Kwa village, Maejan Subdistrict, Umphang District, Tak. Fine Arts Journal, 9(1).
Varavitpinit, S., Boonkoum, W., & Sungrugsa, N. (2017). The model development of Phetchburi city following the philosophy trend of the sufficient economy. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1657-1674.
Kanta, T., Ruecha, N., Tasena, A., & Thong-em, M. The rotational farming production method of the Karen community in the area of Tambon Mae Waluang, Tha Song Yang District, Tak Province. Phiku Journal, Faculty of Humanities and Social Sciences, Kamphaeng Phet Rajabhat University, 20(2). Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/258257
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.