วาทกรรมที่ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปิยนาถ อิ่มดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

วาทกรรม, การปรับตัว, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, เกษตรกร, ลุ่มน้ำท่าจีน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: จากวาทกรรมสู่การตอบโต้ของเกษตรกรลุ่มแม่น้ำท่าจีน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม และเพื่อศึกษาวาทกรรมที่ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัว ทำการวิเคราะห์และเผยให้เห็นถึงอำนาจการครอบงำของวาทกรรมพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทางลบต่อเกษตรกรลุ่มน้ำท่าจีน คือ 1) ผลกระทบด้านกายภาพ 2) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 3) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนำไปสู่การปรับตัวของเกษตรกร คือ 1) การปรับตัวด้านอาชีพ 2) การปรับตัวตามสถานการณ์เฉพาะหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเงินทุนและองค์ความรู้ของแต่ละคน และวาทกรรมที่ทำให้เกษตรต้องปรับตัว ที่มีวาทกรรมเป็นกระแสหลักที่ถูกพูดถึงในพื้นที่ศึกษาโดยรัฐนักวิชาการ 5 วาทกรรม ก็คือ 1) วาทกรรมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากต้นตอแหล่งผลิตในภาคการเกษตร 2) วาทกรรมการพึ่งตนเองก่อน เมื่อเกิดภัยพิบัติให้เกษตรกรคิดหาทางพึ่งตนเองและเอาตัวรอดด้วยตนเองก่อน 3) วาทกรรมการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รัฐมีแนวคิดในการป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพชั้นใน ให้นครปฐมเป็นฟลัดเวย์ รัฐบอกให้ชาวนครปฐมเป็นผู้เสียสละบ้านของตนให้เป็นพื้นที่รับน้ำ 4) วาทกรรมการผลิตเพื่อการค้า รัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ชาวสวนกล้วยไม้ปลูกเพื่่อส่งออกเป็นจำนวนมาก เกษตรจึงต้องใส่ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเพื่อให้ดอกกล้วยไม้สวยงาม ซึ่งย้อนแย้งกลับนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5) วาทกรรมการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือเกษตรอัจฉริยะเป็นความหวังใหม่ของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรต้องเสียเงินลงทุนด้านเทคโนโลยี แต่ก็ไม่สามารถทำได้ทุกคน

References

Atthachak Satyanurak. (2020). In the seminar "The world after COVID-19: a just transition for Thai agricultural society" at the 2020 Local Genetics Festival, Sustainable Agriculture Foundation (Thailand). Retrieved from http://sathai.org/2020/07/02

Banthoon Setthasirotan. (2012). Natural disasters and global climate change and food security. In Noppawan Siriwetchakun (ed.). Agricultural system reform for justice and food security. Bangkok: Phimdee Company.

Climate Watch. (2023). Historical GHG Emissions. Retrieved from https://www.climatewatchdata.org/ghg-emissions?source=Climate%20Watch

IPCC. (2014). Climate Change 2014: Impacts, Adaptation, & Vulnerability. Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. Cambridge: Cambridge University Press.

Kannika Ussasarn. (2012). Politics of Ducks Chasing Fields: Avian Flu Discourse and Farmers’ Bargaining. (Master of Arts Thesis in Social Development). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2020). Framework for promoting sustainable agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives (2017 - 2021). Bangkok: Office of the Permanent Secretary. Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Nimit Sombunwit. (2011). Return life, return clear water to our Tha Chin River. Suphan Buri: Tha Chin River Conservation Club.

Office of Agricultural Economics. (2022). Report on agricultural land use area in the province, year 2019. Retrieved from https://www.oae.go.th/view/1/land-use.

Purin Naksingh et al. (2017). Rural transition and livelihood adaptation of farmers: A case study of “agricultural communities” in Nakhon Pathom Province, 40 (2), 77-106.

Thai Climate Justice for All. (2021). What is the situation of natural resources and the environment in 2021 and what will the trend be in 2022? In the Natural Resources, Environment and Food Security Situation Assessment Forum. Retrieved from https://www.thaiclimatejusticeforall.com

UNFCCC. (2022). Documents and Decisions. Retrieved from https://unfccc.int/decisions

United Nations Environment Programme : UNEP. (2008).Climate Change Adaptation and Mitigation in the Tourism Sector: Frameworks, Tools and Practices.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

อิ่มดี ป. . (2024). วาทกรรมที่ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(6), 128–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279376

ฉบับ

บท

บทความวิจัย