ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 127 เขต กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งประเภท ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล รวม 381 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการและสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูล 2) การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ 3) การพัฒนาฟังก์ชันการทำงานเพื่อจัดการบุคลากรแบบองค์รวม และ 4) การพัฒนาระบบวิเคราะห์และรายงานเพื่อการบริหาร
2. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า ระบบฯ จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ลดความซ้ำซ้อน ทำงานได้รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Big Data ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพยากรณ์ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูล รองรับการเชื่อมโยงกับระบบอื่น ควรลงทุนระบบอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า และพัฒนาให้ใช้ได้จริง
References
Chinachote, P. et al.. (2019). Information system in human resource work. Journal of Yanasangvorn Research Institute, 10(1), 180-190.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: HarperCollins Publishers, 201-204.
Irum, A. and Yadav, R.S. (2019). Human resource information systems: a strategic contribution to HRM. Strategic Direction, 35(10), 4-6.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Laudon, Kenneth C., Laudon, Jane P. (2015). Management information systems : Managing the Digital Firm. Boston: Pearson.
Office of the Basic Education Commission. (2023). Department of Employment 5 Year Action Plan (2023 - 2027). Ministry of Education.
Office of the Teacher Civil Service Commission and Educational Personnel. (2008). Research Report on Operational Issues of the Educational Service Area Offices and Proposed Solutions. Bangkok: Thammasat Printing house.
Shahreki Javad. (2019). The Use and Effect of Human Resource Information Systems on Human Resource Management Productivity. Journal of Soft Computing and Decision Support Systems. 6(5), 1-8.
Thamanon R. (2018) Information Systems Management for Educational Institutions. MCU Haripunchai Review. 2(2), 78-88. Tipsoda, C & Seechaliao, T. (2021). Development of Information System to Support the Performance Evaluation of Academic Staff at the Faculty of Engineering, Mahasarakham University. Journal of Educational Technology and Communications, 4(11), 207-208.
Zwass, V. (2021). Information system. Retrieved from https://www.britannica.com/topic/ information-system.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.