การศึกษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ปรากฏในวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง: กรณีศึกษาอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อุบลนภา อินพลอย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ประจักษ์ สายแสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, วรรณกรรมมุขปาฐะ, นิทานกะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มชนชาวกะเหรี่ยงที่ปรากฏในวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง 3) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฎีคติชนวิทยาและทฤษฎีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นกรอบวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ ปราชญ์ชาวกะเหรี่ยง จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) วรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยงจำนวน 58 เรื่อง 2) อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มชนชาวกะเหรี่ยงที่ปรากฏในวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยงสามารถวิเคราะห์อัตลักษณ์ของกลุ่มชนได้ดังนี้ คือ อัตลักษณ์ด้านวิถีการดำรงอยู่ อัตลักษณ์ด้านศาสนาและการแสดงความเคารพนับถือ อัตลักษณ์ด้านความเชื่อ อัตลักษณ์ด้านประเพณีและพิธีกรรม อัตลักษณ์ด้านการปกครอง อัตลักษณ์ด้านค่านิยม อัตลักษณ์ด้านการละเล่น อัตลักษณ์ด้านดนตรีและศิลปะการแสดง อัตลักษณ์ด้านการคมนาคม อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ของชนเผ่า 3) ฐานข้อมูลเกี่ยวกับวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง มีจำนวน 2 ฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง และ ฐานข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลวรรณกรรมมุขปาฐะนิทานกะเหรี่ยง

References

Keyes, Charles F. (1997). “Ethnic groups, ethnicity” In The Dictionary of Anthropology. Oxford: Blackwell Publishers.

Kongtaewthong, M. (1995). Kanchanaburi Studies, Thai people of Karen descent in Kanchanaburi Province. Kanchanaburi: Arts and Culture Center Kanchanaburi Rajabhat Institute.

Pliansiri, P. (2012). Application of aesthetics to develop the leadership succession process in communities with ethnic identity. Case study: Ban Mae Khong Sai community. Chiang Dao District, Chiang Mai Province. Master of Science Thesis, National Institute of Development Administration.

Suriyawong, B. (2019). Cultural identity that appears from stories of the Akha ethnic group in Chiang Rai Province. Journal of Human Social Affairs. 17(3). http://so03.tci-

thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/232458.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย