การจัดการความรู้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมอาหารชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, ชุมชนไทลื้อ, วัฒนธรรมอาหาร, อัตลักษณ์บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์และวัฒนธรรมอาหารของชุมชนไทลื้อ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนไทลื้อ 3) เพื่อสร้างกลไกการธำรงอัตลักษณ์และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนไทลื้อ พื้นที่วิจัย ได้แก่ บ้านลวงเหนือ บ้านป่าคา และบ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มเป้าหมาย คือ ปราชญ์ชาวบ้านหรือเจ้าของภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ สามารถนำภูมิปัญญาอาหารมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เชื่อมโยงคุณค่าภูมิปัญญาของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม จำนวน 10 คน ผู้นำชุมชน 3 คน ตัวแทนโรงเรียน 3 คน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 4 คน นักท่องเที่ยวชาวไทย 20 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง โดยคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่า 1) อาหารไทลื้อมีอัตลักษณ์สัมพันธ์กับวิถีชีวิตเกษตรกรรมที่เน้น “กินง่าย อยู่ง่าย เรียบง่าย พอเพียง” จึงมีวัตถุดิบที่หาได้ง่ายจากผักหรือพืชที่ปลูกไว้ในครัวเรือน มีคุณค่าทางอาหาร ปลอดภัย 2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนไทลื้อที่สำคัญ 4 ประการ คือ (1) สร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมโยงและต่อยอดได้ (2) กำหนดกลยุทธ์ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจได้ (3) ยกระดับมาตรฐานสู่ความเป็น "สากล" (4) สร้าง "ค่านิยมร่วม" หรือคุณค่าร่วมที่สอดคล้องกับผู้บริโภค 3) กลไกการธำรงอัตลักษณ์และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนไทลื้อมีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ (1) การรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมอย่างเหนียวแน่น (2) การสืบทอดและเผยแพร่อัตลักษณ์และวัฒนธรรมทุกมิติ (3) การสร้างพื้นที่เรียนรู้อย่างอิสระ (4) การจัดเทศกาลอาหารไทลื้ออย่างต่อเนื่อง
References
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. 2560. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 4. สืบค้นจาก http://www.thansettakij.com/content/77043
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. 2556. Event Marketing. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ สนพ.
งานองค์ความรู้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน). 2559. ใส่ใจไปเที่ยวกับ อพท. การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.
จารุวรรณ นพพรรค์. 2525. ทฤษฎีอาหาร 1 อาหารประจำ 4 ภาค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศกร. 2559. การพัฒนารูปแบบนวัฒนกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์เพื่อเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. 2559. สัตถะเสวนา ศาสนากับอาหาร. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฏาคม, 2564, จาก https://www.youtube.com/watch?v=sPYe7TcI0Ag
นนทวรรณ ส่งเสริม. 2561. Creative tourism. วิชาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (TM203).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2532. ความหลากหลายของวัฒนธรรมไทย ความท้าทายใหม่ สู่ความเข้าใจวัฒนธรรม, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
บัณฑิต เอนกพูนสุข. 2560. Food on the move. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (Vol3 No.1) มกราคม-มีนาคม
ปฬาณี ฐิติวัฒนา. 2542. ผักพื้นบ้านและอาหารพื้นบ้าน. ใน รวมบทความการประชุมวิชาการผักพื้นบ้านและอาหารพื้นบ้าน 4 ภาค. หน้า 48-59. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์
พรหมเมธ นาถมทอง. 2558. วิถีไทยในกระแส. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ไตรมาสที่ 1 (มกราคม – มีนาคม). กรุงเทพฯ
ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร. 2555. ทฤษฎีแรงจูงใจการท่องเที่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. วารสาร วิทยาการจัดการ.ปีที่ 29 (กรกฎาคม – ธันวาคม) 129-146
มณีรัตน์ สุขเกษม. 2560. การดำรงอัตลักษณ์ชาวไทยพวนของบ้านดงโฮมสเตย์ผ่านบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. 19(1): 94.
โศรยา หอมชื่น. 2554. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ท่องเที่ยวสร้างสรรค์. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ไตรมาสที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน). กรุงเทพฯ
ศรีสมร คงพันธุ์. 2557. ครบภาคครบรสอาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส.ส.ส.ส.
สุนีย์ วัฑฒนายน. 2557. 6 อาหารท้องถิ่น วัฒนธรรมการกินแบบพื้นบ้าน สืบสานสู่อาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินท์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.ปีที่ 1 (มกราคม – เมษายน) 34-44
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. 2544. อาหาร: ทรัพย์และศิลป์แผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: แปลนโมทีฟ
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2558. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). 2560. ทำความรู้จักกับ Gastronomy tourism. สืบค้นได้จาก www.dasta.or.th/attachments/article/2053/Procc66.pdf UNWTO.
(ONLINE).Global report on Food tourism. Available at http://cf.cdn.unwto.org/sites/all/files/docpdf/amreports4-foodtourism.pdf
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. 2546. อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.