การพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ธรรมนูญตำบล., ประชาธิปไตยชุมชน, จังหวัดชัยภูมิบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์สภาพโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการเพื่อการพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน 2)พัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 3)พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ธรรมนูญตำบลเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน ในจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน จำนวน 1,200 คน โดยใช้แบบสอบถาม, ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 70 คน และจัดสนทนากลุ่มเฉพาะในพื้นที่ และทำวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาธรรมนูญตำบลขึ้นในพื้นที่ 3 ตำบล จาก 3 อำเภอของจังหวัดชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. จังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร มีเส้นทางคมนาคม ไฟฟ้า และสาธารณสุขทั่วถึง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบอาชีพเชิงเดี่ยว มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบปกติ และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการดื่มสุราและยาเสพติด และมีความต้องการให้มีการพัฒนาธรรมนูญตำบลขึ้น
2.การพัฒนาธรรมนูญตำบลในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ 3 พื้นที่ได้สร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการชุมชนเทคนิค AIC คือ 1) สร้างความรู้ (A) 2) สร้างแนวทางการพัฒนา (I) 3) สร้างแนวทางปฏิบัติ (C) ยกร่างธรรมนูญตำบลให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จึงทำการบันทึกข้อตกลงร่วมกันทุกภาคส่วนในแต่ละตำบล
- 3. การเผยแพร่ธรรมนูญได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ร่วมกันผ่านหน่วยงานในตำบลผ่านหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในธรรมนูญตำบลและนำไปสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่เหมาะสมและยั่งยืน
ผลการวิจัยทำให้สามารถพัฒนาธรรมนูญตำบลสำหรับประชาชนใน 3 พื้นที่การวิจัย นำไปใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในพื้นที่และสร้างเครือข่ายให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป
References
Aranyavat, S., Sutaworathammakit, P. and Pariyatworamathee, P. (2020). Buddhistic Subdistrict Constitution: Community Development Process for the sustainability of the people and local administrative organizations in Roi Et Province, Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(3) (July – September), 369-382.
Bankok Sub-district Administrative Organization, (2022) 5 year Local Development Plan (2023-2028).
Chaiyaphum Provincial Office, Retrieved 28 July 2022, from http://www.chaiyaphum.go.th /index.php
Chanrojanakit, B. (2015). Constitution of the Kingdom of Thailand: Background and Essence, Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Community Organizations Development Institute, (2016). Knowledge set on preparing a self-government constitution, Community Organizations Development Institute (Public Organization) : Community Organization Council Support Office.
Department of Community Development. (1984). Community development. Bangkok: Department of Community Development.
Homwan, R., Pattanasing, T., Phramaha Apisit, Khraisin, I., and Sukjit, S. (2023). The Network of the Nine Virtues Community: A Social Value Creative Process in Buriram Province, Journal of MCU Ubon Review, Vol.8 No.1(January-April). 719-731.
Jarernpanit T. and Tangpatikan P. (2020), The local constitution : the tool of community democracy development : case studies of Phitsanulok Province. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences 20 (1), 128- 140.
Klaydesh, P. (2017) Political Science Research Methodology, 2nd edition, Khon Kaen: Khon Kaen Printing.
Kongkirati, P. (2019). Democracy: many meanings and forms. Bangkok: Siam Review.
Lamphrom, W. Phumkittipit, P. Pummai, S. and Mila, N. (2021) Guidelines for developing public sector networks in water resource conservation, Bangkok: Triple Group.
Naseaw Sub-district Administrative Organization, (2022) from https://www.naseaw.go.th
Office of the Secretary of the National Strategy Committee. (2019). National Strategy 2018 - 2037. 2nd edition, Bangkok : Office of the Secretary of the National Strategy Committee. Office of the National Economic and Social Development Board.
Rangubtook, S. and Klaydesh, P. (2018). Good Governance of Thai Local Governments. Dhammathas Academic Journal Vol.18 No.3 (September – December).255-266.
Sukprasert, C. and Klaydesh, P., (2022). Sustainable Community Development for Supporting Natural and Cultural Tourism in Chaiya Phum Province (Research Report). Ayutthaya : Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Suphap, C. (1992). Comparative political systems. Bangkok: Watthanaphanich Printing House.Tamafaiwan Sub-district Administrative Organization, (2022) from http://www.tamafaiwan.go.th The Government Gazette, Vol. 134, Part 40 a, Page 1, dated 6th April B.E. 2560.
Wises, S. and Chantima, C. (2016). The Procedure to Formulate the Charter on Natural Resource Management by Public Deliberation: Case study on Phayao Lake. Journal of MCU Peace Studies, 4(2), 38-56.
Yamane, T. (1967) Elementary sampling theory. New Jersey : Prentice-Hall.Inc.
Yotee, C. Chittaladakorn, S. Chaiyaporn, C. and Pintobtang, P. (2017). Local Democratization in Thailand: A Case Study of Songkhla’s Community. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 10(2), 21–27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.