มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

มาตรการสร้างภูมิคุ้มกัน, ยาเสพติด, นโยบายของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2)ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายของรัฐและมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จากประชากรผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,313 คน แบบเจาะจง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

           ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ด้านประสิทธิภาพในการวางแผนและควบคุมด้านสมรรถนะขององค์การหรือหน่วยงานด้านภาวะผู้นำและความร่วมมือ และด้านการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอกอยู่ในระดับมาก 2)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาตามนโยบายของรัฐ วัตถุประสงค์ของนโยบายการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา มีความเป็นไปได้ชัดเจนมากที่สุด รองลงมาโรงเรียนปฏิบัติงานตามนโยบาย แผนงานและโครงการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบชัดเจนเหมาะสมต่อการกำกับ ติดตามประเมินผล องค์การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและผู้นำองค์การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นเอกภาพ เกิดประสิทธิภาพน้อยที่สุด 3)ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายของรัฐและมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาส่งผลไปในทิศทางเดียวกัน

References

Arkhom Termpittayapaisit. (2012). Document summarizing the main points of the National Economic and Social Development Plan No. 11, Office of the National Economic and Social Development Board, 15 pages.

Allison, G.T. (2020. Essence of Decision : Explaining the Cuban Missile Crisis. Boston : Little Brown and Company.

Association of Southeast Asian Nations. (2007). The ASEAN Charter. Jakarta : The ASEAN Secretariat. In Coon, D and Mitterer, J.O. (2011). Psychology : A journey. 4th ed. CL : Wadsworth.

Coon and Mitterer. (2011). Building The Innovative Organization : Management Systems that Encourage Innovation. Hampshire : Macmillan Press.

Narcotics Control Board, Office. (2009). Knowledge and guidelines for preventing and solving drug problems. Bangkok : Office.

Pornpen Phetsuksiri. (1997). Research guidelines for developing policies to solve drug problems in Thailand. Bangkok : Photocopied document.

Woradej Chantarasorn. (2017). Implementing policy: a brief survey of the knowledge ramework. Pages 28-32. In Uthai Laowichian and Woradej Chandrason. Putting policy into practice. Bangkok: Friends of blogging and printing

Wararat Khiawpairi. (2009). Human resource development. Bangkok : Sirabut Printing.

Academic Affairs and Planning, Division of Administration, Department (2014). [Online]. Accessible from: http://tspd.dopa.go.th/Knowledge/ (Data search date: 20 October).

Werawit Kongsak. (2022). Morality and Thai society. Bangkok : Waenkaew Edutainment.

Sarinthorn Setthakarun. (2019). The path to teaching and learning reform. Learning management that focuses on students is important. Bangkok : SKSC Lat Phrao.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย